วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

8-พัฒนาการทางการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา

8-พัฒนาการทางการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา


พัฒนาการทางการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา

การเมืองการปกครอง

สถาบันพระมหากษัตริย์

            การปกครองของไทยในสมัยอยุธยา   เปลี่ยนแปลงต่างไปจากสุโขทัยเพราะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากเขมร (ขอม)  เข้ามามาก

โดยเฉพาะลัทธิเทวราช  ซึ่งเขมรรับมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง  ลัทธินี้องค์พระมหากษัตริยืทรงเป็นสมมุติเทพอยู่เหนือบุคคลสามัญ ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุด  ทรงไว้ซึ่งอาญาสิทธิ์เหนือผู้อื่นทั้งปวงในอาณาจักร คือ นอกจากจะทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินแล้ว ยังทรงเป็น เจ้าของชีวิตราษฎรอีกด้วย

            พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา  จึงมีฐานะแตกต่างจากพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยอย่างมาก  เช่น  การเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์   ต้องหมอบคลานแสดงความอ่อนน้อม  การพูดกับพระมหากษัตริย์ต้องใช้ราชาศัพท์  เมื่อเสด็จออกนอกพระราชวังราษฎรต้องหมอบกราบและก้มหน้า  มีกฎมณเฑียรบาลห้ามมองพระพักตร์ของพระมหากษัตริย์  เนื่องจากพระองค์เป็นสมมุติเทพและเพื่อการป้องกันการทำร้ายพระองค์

สิ่งเหล่านี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์พระมหากษัตริย์กับประชาชนห่างเหิน กัน  ความใกล้ชิดแบบบิดาปกครองบุตรแบบสุโขทัยจึงน้อยลงทุกขณะ

            นอกจากนี้ยังมีระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์และราช บัลลังก์อีก  เช่น  ให้ถือเขตพระบรมมหาราชวัง เป็นเขตหวงห้ามสำหรับประชาชนสามัญ  มีการรักษาความปลอดภัยเข้มงวด  มีนายประตูดูแลตลอดเวลา  มีมาตราป้อนกันมิให้เจ้าเมือง ลูกขุน  ราชบุตร  ราชนัดดาติดต่อกัน  ต้องการให้แต่ละบุคคลแยกกันอยู่  เป็นการแยกกันเพื่อปกครอง  มิให้มีการรวมกันได้ง่ายเพราะอาจคบคิดกันนำภัยมาสู่บ้านเมืองหรือราช บัลลังก์ได้

การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  พ.ศ. 1893 – 1991

           การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงรัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เป็นรูปแบบการปกครองที่ได้รับอิธิพลจากเขมรและสุโขทัยในลักษณะต่อไปนี้

           1.การปกครองส่วนกลาง จัดการบริหารแบบจตุสดมภ์ หมายถึง การที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยตรง ได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นกรมสำคัญ 4 กรม ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้

กรมเวียง  หรือ กรมเมือง มีขุนเวียงเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร

กรมวัง    มีขุนวังเป็นหัวหน้าดูแลรักษาพระราชวัง  จัดงานพระราชพิธีต่างๆ และพิจารณาพิพากษาคดี

กรมคลัง  มีขุนคลังเป็นหัวหน้า รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศทั่วราชอาณาจักร  ด้านการเงินทำหน้าที่เก็บภาษีอากรใช้จ่ายพระราชทรัพย์  จัดแต่งสำเภาหลวงออกค้าขาย ในด้านต่างประเทศทำสัญญาการค้าและติดต่อทางการทูตกับต่างประเทศ

กรมนา  มีขุนนาเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ดูแลเรือกสวนไร่นาทั่วราชอาณาจักร และจัดเตรียมเสบียงอาหารให้เพียงพอในยามบ้านเมืองมีศึกสงคราม

           2. การปกครองส่วนภูมิภาค  การ จัดการปกครองส่วนภูมิภาค จัดตามแบบอาณาจักรสุโขทัย เพราะเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่เคยอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยมาก่อน มีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง เมืองต่างๆ จัดแบ่งออกดังนี้

            เมืองหน้าด่าน หรือ เมืองป้อมปราการ เป็นเมืองที่มีความสำคัญในการป้องกันราชธานี  ระยะทางไปมาระหว่างเมองหน้าด่าน กับราชธานีใช้เวลาเดินทางภายใน  2 วัน มักเป็นเมืองใหญ่หรือเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศสตร์ พระมหากษัตริย์จะแต่งตั้งพระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครอง บางที่จึงเรียกว่า เมืองลูกหลวง

หัวเมืองชั้นใน คือ เมืองที่อยู่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไป  พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเจ้านายหรือขุนนางไปปกครองขึ้นตรงต่อเมืองหลวง

หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร เป็นเมืองขนาดใหญ่  ที่มีประชาชนคนไทยอาศัย  อยู่ห่างจากราชธานีต้องใช้เวลาหลายวันในการติดต่อ  มีเจ้าเมืองปกครอง  อาจเป็นผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองเดิม  หรือเป็นผู้ที่ทางเมืองหลวงต่างตั้งไปปกครอง

เมืองประเทศราช     เป็นเมืองที่อยู่ชายแดนของอาณาจักร   ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติต่างภาษา  มีเจ้าเมืองเป็นคนท้องถิ่นจัดการปกครองภายในของตนเอง  แต้องส่งเครื่องบรรณาการมาถวายตามกำหนด ได้แก่  ยะโฮร์   เขมร  และเชียงใหม่ (ล้านนา)

การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง  พ.ศ. 1991 – 2072

            เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. 1991 – 2031) พระองค์ทรงปรับปรุงระเบียบการปกครองใหม่ เพราะเห็นว่าการปกครองแบบเก่ายังหละหลวม  กรุงศรีอยุธยาควบคุมดูแลเมืองในส่วนภูมิภาคได้ไม่ทั่วถึง  บรรดาเมืองต่างๆ  เบียดบังรายได้จากภาษีอากรไว้ ทำให้ราชธานีได้รับผลประโยชน์ ไม่เต็มที่  นอกจากนั้นในระยะที่มีการผลัดแผ่นดิน  หากกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงเข้มแข็ง มีอำนาจ  ก็จะไม่มีปัญหาทางการปกครอง  แต่หากกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงอ่อนแอไม่เด็ดขาดหรือยังทรงพระเยาว์อยู่  บรรดาเมืองประเทศราช และเมืองพระยามหานคร  มักฉวยโอกาสแยกตนเป็นอิสระอยู่เสมอ  นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน เจ้าเมืองมีอำนาจมากและมักจะยกกำลังทหารทหารเข้ามาแย่งชิงราชสมบัติอยู่ เนืองๆ และอาณาจักรอยุธยาในสมัยนี้มีอาณาเขตกว้างขวางมากกว่าเดิม  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงต้องปรับปรุงการปกครองใหม่  มีลักษณะสำคัญสองประการ  คือ  จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง  ทำให้ราชธานีมีอำนาจและมีการควบคุมเข้มงวดขึ้น  และแยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน (เป็นครั้งแรก)  สาระสำคัญที่เปลี่ยนไปมีดังนี้

           1. การปกครองส่วนกลาง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้มีตำแหน่งมุหกลาโหมและสมุหนายก สมุหกลาโหม รับผิดชอบด้านการทหาร มีหน้าที่บังคับบัญชาตรวจตราการทหาร  เกณฑ์ไพร่พลในยามมีศึก ยามสงบรวบรวมผู้คน อาวุธ เตรียมพร้อม สมุหนายกทำหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักรและดูแล จดุสดมภ์  พระองค์ได้ทรงกำหนดหน่วยงานระดับกรม(เทียบได้กับกระทรวงในปัจจุบัน)  ขึ้นอีก  2  กรม  จึงมีหน่วยงานทางการปกครอง  6  กรม  กรมใหม่ที่จัดตั้งขึ้นมีเสนาบดีรับผิดชอบในหน้าที่  ดังนี้

กรมมหาดไทย      มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก   มีฐานะเป็นอัตรมหาเสนาบดี  มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
กรมกลาโหม         มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม   มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี  มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ       พร้อมกันนี้ได้ปรับปรุงกรมจตุสดมภ์เสียใหม่   ให้มีเสนาบดีรับผิดชอบงานในหน้าที่ของแต่ละกรม คือ
กรมเมือง              มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
กรมวัง                  มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
กรมคลัง               มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
กรมนา                 มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี

            2.การปกครองส่วนภูมิภาค   สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้ยกเลิกเมืองหน้าด่านหรือเมืองลูกหลวง ให้จัดการปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค ดังนี้

หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองชั้น จัตวา  ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า  “ผู้รั้ง”  ไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง  ต้องปฏิบัติตามคำ สั่งของราชธานี  เป็นเมืองที่ตั้งอยู่โดยรอบราชธานี เช่น ชัยนาท นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี เป็นต้น พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยาไปทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง

หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่เมืองที่ อยู่ถัดจากหัวเมืองชั้นในออกไป (ซึ่งเป็นเมืองพระยามหานครในสมัยก่อน)จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท  เอก  ตามขนาดและความสำคัญของเมืองนั้นๆ  อาจมีเมืองเล็กขึ้นด้วยพระมหากษัตริย์ทารงแต่งตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์หรือ ขุนนางผู้ใหญ่ออกไปปกครองเป็นเจ้าเมือง  มีอำนาจเต้มในการบริหารราชการภายในเมือง

เมืองประเทศราช  โปรดฯ ให้มีการจัดการปกครองเหมือนเดิม คือให้มีเจ้านายในท้องถิ่น  เป็นเจ้าเมือง  หรือกษัตริย์ มีแบบแผนขนอบธรรมเนียมเป็นของตนเอง  พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้ทรงแต่งตั้ง  เมืองประเทศราชมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยุธยา
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย  พ.ศ. 2072 – 2310

             การจัดการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางตามที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรง วางรากฐานไว้คงใช้มาตลอดแต่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะกับสภาพบ้านเมือง ยิ่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์  (พ.ศ. 2199 – 2231)    ทรงให้ยกเลิกการแยกความรับผิดชอบของอัครมหาเสนาบดีเกี่ยวกับงานด้านพลเรือน ของสมุหนายก  และงานด้านทหารของสมุหกลาโหม  โดยให้สมุหกลาโหมรับผิดชอบ
ทั้งด้านทหารและพลเรือน  ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและหัวเมืองอีสาน  ส่วนหัวเมืองตอนกลาง  และหัวเมืองชายทะเลตะวันออก  ให้อยู่ในอำนาจของเมืองหลวงโดยตรง  ทั้งนี้ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่าการแยกกิจการฝ่ายทหารและฝ่ายทหารและฝ่าย พลเรือนจากกันอย่างเด็ดขาด ไม่อาจทำได้อย่างได้ผลดี  โดยเฉพาะในยามสงคราม  บ้านเมืองต้องการกำลังพลในการสู้รบจำนวนมาก  ชายฉกรรจ์ต้องออกรบเพื่อชาติบ้านเมืองทุกคนจึงเป็นการยากในทางปฏิบัติ  อีกประการหนึ่ง  มีบทเรียนที่แสดงให้เห็นว่า  เมื่อให้สมุหกลาโหมคุมกำลังทหารไว้มากทำให้สามารถล้มราชวงศ์กษัตริย์ลงได้
.

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 19 สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 19 สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

         ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
การพัฒนาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม
     หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475   มีการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดในเรื่องการแต่งกาย ผู้ชายเริ่มแต่งกายแบบสากล คือสวมเสื้อนอกกระดุมห้าเม็ด กางเกงขายาวแบบสากล   รองเท้าหุ้มส้นและสวมถุงเท้า ยกเลิกการนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบนและเสื้อราชปะแตน
นโยบายสร้างชาติทางวัฒนธรรมของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม

     ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยหลายประการ คือ
           1. การเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ประเทศไทย” ในปี พ.ศ.2482
           2. ใช้คำว่า “ไทย” กับคนไทย และสัญชาติไทย
           3. กำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น “วันชาติไทย” เริ่มในปีพ.ศ.2482
           4. เปลี่ยนเนื้อร้องเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมี ไม่ให้มีคำว่า สยาม
           5. ให้ยืนตรงเคารพธงชาติพร้อมกันทั่วประเทศ ในเวลา 08.00 น. เชิญธงชาติขึ้น และเวลา 18.00 น. ชักธงชาติลง
           6. เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก “1 เมษายน” เป็น “1 มกราคม” ตามแบบสากล เริ่ม พ.ศ.2484
           7. การแต่งกาย
                        ข้าราชการให้แต่งเครื่องแบบ
                        ราษฎรทั่วไป                              ผู้ชาย ให้สวมเสื้อนอกคอเปิดหรือปิด นุ่งกางเกงขายาว สวมหมวกปีกสวมถุงเท้า รองเท้า                             ผู้หญิง สวมเสื้อนอกคุมไหล่ นุ่งผ้าถุง ห้ามนุ่งโจงกระเบน
                การแต่งกายไว้ทุกข์ในงานศพ ผู้ชาย ใช้เสื้อขาว กางเกงขายาวขาว ผ้าผูกคอสีดำ สวมปลอกแขนสีดำ ที่แขนเสื้อด้านซ้าย สวมรองเท้าดำ ถุงเท้าดำ ผู้หญิง ให้แต่งชุดดำล้วน
           8. การกินอาหาร ให้ใช้ช้อนส้อมแทนการใช้มือเปิบ
           9. ห้ามกินหมากโดยเด็ดขาด
         10. ประกาศงดใช้พยัญชนะ 13 ตัว ได้แก่ ฃ ฅ ฒ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฌ ศ ษ ฬ ตัดสระออก 5 ตัว
                        ได้แก่ ฤ ฤา ฦ ฦา ใ แต่ในสมัย นายควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็นำกลับมาใช้ใหม่
         11. ให้ใช้คำว่า “ฉัน” , “เรา” , “เขา” , “ท่าน” , “มัน” ใช้คำรับและปฏิเสธว่า “จ้ะ” , “ค่ะ” , “ครับ” , “ไม่”
         12. ให้ใช้คำว่า “สวัสดี” ในโอกาสที่พบกัน
         13. ยกเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน ให้ใช้ชื่อและนามสกุลแทน
         14. การตั้งชื่อบุคคลต้องให้เหมาะสมกับเพศและมีความยาวไม่เกิน 3 พยางค์
         15. ตั้งกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ.2495 เพื่อส่งเสริมงานด้านวัฒนธรรม ภายหลังถูกยุบรวมกับกระทรวงศึกษาธิการ
การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี (พ.ศ.2501-2506)สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี

          1. พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา จัดให้มีพิธีเสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามของหน่วยทหารรักษาพระองค์ มีการตกแต่งโคมไฟและประดับธงชาติตามสถานที่ราชการ บ้านเรือน ห้างร้าน เพื่อถวายพระเกียรติ
          2. ประกาศยกเลิกวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ และกำหนดวันชาติใหม่ คือ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
          3. ฟื้นฟูพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
          4. ฟื้นฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
          5. ฟื้นฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
การฟื้นฟูพระราชพิธีที่สำคัญ สมัยจอมพลถนอม  กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี

          1. ฟื้นฟูพระราชพิธีรัชดาภิเษก ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบ 25 ปี ซึ่งรัชกาลที่ 5 เคยกระทำมาแล้ว
          2. ฟื้นฟูพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ในปีพ.ศ.2515 โดยคณะรัฐบาลได้นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ ทรงพระกรุณาสถาปนาเฉลิมพระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ตามโบราณขัตติยราชประเพณี
การศึกษาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง          1. รัชกาลที่ 7 เห็นความสำคัญของการศึกษาโดยไม่ตัดทอนรายจ่ายด้านการศึกษาเลย ถึงแม้จะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนักก็ตาม
          2. หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ก็มีการกำหนดการพัฒนาการศึกษา โดยริเริ่ม วางแผนการศึกษาแห่งชาติ จัดให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
          3. ในปี พ.ศ.2477 จัดตั้ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 2 ของไทย ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7
          4. สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จัดตั้งสภาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503 ขยายการศึกษาภาคบังคับ จาก 4 ปี เป็น 7 ปี
          5. ในปี พ.ศ.2520 ลดการศึกษาภาคบังคับ จาก 7 ปี เหลือ 6 ปี (ป.1-ป.6) และเพิ่มระดับมัธยมศึกษาจาก 5 ปี เป็น 6 ปี (ม.1-ม.6)
          6. ปัจจุบันปีพ.ศ.2546 การศึกษาภาคบังคับเพิ่มขึ้นจาก 6 ปี เป็น 9 ปี (จบม.3)
          7. ในปีพ.ศ.2514 รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิด คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
          8. ในปีพ.ศ.2521รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิดแห่งที่ 2 คือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
          9. ส่งเสริมให้เอกชนจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ปัจจุบันมีจำนวนมากหลายแห่ง เช่น ในภาคเหนือ มีมหาวิทยาลัยพายัพ ที่จังหวัดเชียงใหม่
        10. มหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นล่าสุดในภาคเหนือที่ จังหวัดเชียงรายคือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติแด่ สมเด็จย่า (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)
ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ,  (กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)
          คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,
           ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,   (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์,2525) 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 18 สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 18 สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง

การปรับปรุงทางด้านสังคมในสมัยรัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

     ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงเวลาที่ชาวไทยเริ่มมีการปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีทางตะวันตกภายหลังจากที่ไทยทำสนธิสัญญาทางการค้ากับ     ชาวตะวันตก
     การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 4
อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเข้ารับราชการ
ให้เสรีภาพแก่สตรีที่บรรลุนิติภาวะในการเลือกคู่ครองโดยพ่อแม่จะบังคับไม่ได้
ห้ามพ่อแม่ขายบุตรเป็นทาส
ห้ามสามีขายภรรยาเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ
ให้นางแอนนา เลียวโนเวนส์ ชาวอังกฤษ ไปสอนภาษาอังกฤษให้กับพระราชโอรสและธิดา
โปรดให้สตรีคณะมิชชันนารีผู้สอนศาสนาคริสต์เข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้สตรีในราชสำนัก
การปรับปรุงประเพณีและวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 4     1. ประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า
     2. โปรดให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเพื่อเป็นของที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน
เป็นบำเหน็จรางวัลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการไทย และชาวต่างประเทศ


     3. ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงร่วมเสวยด้วย
     4. ฟื้นฟูประเพณีการตีกลองร้องฎีกา เพื่อให้ทราบถึงทุกข์สุขของราษฎรโดยจะเสด็จ
ออกมารับฎีกาด้วยพระองค์เอง ทุกวันโกณ เดือนละ 4 ครั้ง
     5. ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกนับถือศาสนา
     6. ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกประกอบอาชีพ
     7. กำหนดให้ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เป็นวัดประจำรัชกาล ซึ่งรัชกาลที่ 4
ทรงสร้างขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร
     8. รัชกาลที่ 4 ทรงก่อตั้งธรรมยุตินิกาย เมื่อครั้งยังผนวชที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 3
การปรับปรุงด้านสาธารณสุขสมัยรัชกาลที่ 4
     ด้านการสุขาภิบาล สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการสุขาภิบาลตามคำแนะนำของบาทหลวงมิชชันนารีบ้างแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด

ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ,
          (กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)
          คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,
           ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,   (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์,2525)

การปรับปรุงทางด้านสังคมในสมัยรัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

     ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงเวลาที่ชาวไทยเริ่มมีการปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีทางตะวันตกภายหลังจากที่ไทยทำสนธิสัญญาทางการค้ากับ     ชาวตะวันตก
     การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 4
อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเข้ารับราชการ
ให้เสรีภาพแก่สตรีที่บรรลุนิติภาวะในการเลือกคู่ครองโดยพ่อแม่จะบังคับไม่ได้
ห้ามพ่อแม่ขายบุตรเป็นทาส
ห้ามสามีขายภรรยาเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ
ให้นางแอนนา เลียวโนเวนส์ ชาวอังกฤษ ไปสอนภาษาอังกฤษให้กับพระราชโอรสและธิดา
โปรดให้สตรีคณะมิชชันนารีผู้สอนศาสนาคริสต์เข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้สตรีในราชสำนัก
การปรับปรุงประเพณีและวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 4     1. ประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า
     2. โปรดให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเพื่อเป็นของที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน
เป็นบำเหน็จรางวัลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการไทย และชาวต่างประเทศ


     3. ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงร่วมเสวยด้วย
     4. ฟื้นฟูประเพณีการตีกลองร้องฎีกา เพื่อให้ทราบถึงทุกข์สุขของราษฎรโดยจะเสด็จ
ออกมารับฎีกาด้วยพระองค์เอง ทุกวันโกณ เดือนละ 4 ครั้ง
     5. ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกนับถือศาสนา
     6. ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกประกอบอาชีพ
     7. กำหนดให้ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เป็นวัดประจำรัชกาล ซึ่งรัชกาลที่ 4
ทรงสร้างขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร
     8. รัชกาลที่ 4 ทรงก่อตั้งธรรมยุตินิกาย เมื่อครั้งยังผนวชที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 3
การปรับปรุงด้านสาธารณสุขสมัยรัชกาลที่ 4
     ด้านการสุขาภิบาล สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการสุขาภิบาลตามคำแนะนำของบาทหลวงมิชชันนารีบ้างแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด

ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ,
          (กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)
          คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,
           ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,   (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์,2525)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 17 บุคคลสำคัญสมัยอยุธยา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 17 บุคคลสำคัญสมัยอยุธยา


       การที่ประเทศไทยของเราสามารถดำรงอยู่ได้อย่างน่าภาคภูมิใจในสังคมโลก ปัจจุบันนี้ได้นั้น ก็เพราะว่าแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมาเราคนไทยมีบรรพบุรุษที่มีความกล้าหาญเสีย สละในการปกป้องและ สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมมาโดยตลอด ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและชาวบ้านบางระจัน เป็นตัวอย่างของพระมหากษัตริย์และประชาชน สมัยอยุธยาที่ทำประโยชน์ต่อบ้านเมือง อันสมควรที่เยาวชนคนไทยทั้งหลายจะยกย่องสรรเสริญ และยึดถือเป็นแบบอย่าง
                     
อนุสาวรีย์วีรชนชาวบ้านบางระจัน

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133 - 2148)

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระอัจฉริยะบุคคลอย่างเต็มภาคภูมิ ในยุคสมัยของพระองค์ ทรงเป็นนักการทหารที่มีพระปรีชาสามารถสูงเยี่ยม จนเป็นที่เล่าขานของคนร่วมสมัยทั่วไป พระองค์เป็นสัญลักษณ์ของความเด็ดเดี่ยว กล้าเผชิญปัญหา ที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งคือ ทรงเป็นแบบฉบับของนักการปกครอง ที่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินไทย โดยคำนึงถึงความสุขสบาย ส่วนพระองค์เลย จนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ


พระราชประวัติ


พระนเรศวรทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและพระวิสุทธิ์ กษัตรี ประสูติที่เมืองพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. 2098 ทรงมีพระพี่นางหนึ่งองค์และพระอนุชาผู้ซึ่งครองราชย์ สมบัติต่อมาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ
พระนเรศวรถูกส่งไปเป็นตัวประกันที่เมืองพะโค(หงสาวดี) เมื่อพระชนมายุ 9 พรรษา ในคราวที่พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่า ยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือและยึดเมืองพิษณุโลกไว้ได้และต่อมาก็ตีกรุง ศรีอยุธยาได้ในปี พ.ศ. 2112 พระมหาธรรมราชาธิราชได้ขึ้นครองราชย์สมบัติในฐานะเมืองขึ้นของพม่า
สมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จกลับมากรุงศรีอยุธยา เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา โดยได้รับการ สถาปนาให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก มีตำแหน่งในฐานะอุปราชหรือวังหน้า เมื่อพระราชบิดาเสด็จ สวรรคต พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์สมบัติขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา
ทรงเสด็จสวรรคตที่เมืองฉาง รัฐฉานในพม่า เมื่อ พ.ศ. 2148 พระชนมพรรษาได้ 50 พรรษา พระอนุชาคือพระเอกาทศรถได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อมาพระเกียรติคุณ
สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ "วีรกษัตริย์" หรือในพระนาม "พระองค์ดำ" ทรงพระปรีชาสามารถในการสงครามและการปกครอง อีกทั้งพระองค์ยังเป็นนักการต่างประเทศที่ทรงพระปรีชาสามารถในการดำเนิน นโยบายอย่างกล้าหาญอีกด้วย
ในช่วงที่เสด็จกลับมาจากพม่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงมอบหมายให้พระองค์เสด็จไปปกครองหัวเมืองเหนือ โดยประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ในระยะเวลา 14 ปีที่ทรงปกครองหัวเมืองเหนือนั้นพระองค์ดำเนินการหลายอย่าง ที่เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการสงครามกอบกู้เอกราช เช่น ฝึกทหาร รวบรวมกำลังคนที่หลบหนีพม่าเข้าป่า ฝึกฝนยุทธวิธีการรบต่าง ๆ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการช่วยกษัตริย์พม่ารบหลายครั้ง เช่น การปราบเจ้าฟ้าไทยใหญ่เมืองดังได้สำเร็จ ทำให้เป็นที่ไม่ไว้วางใจของพม่าและวางแผนที่จะลอบปลง พระชนม์ แต่พระองค์ทรงล่วงรู้ถึงแผนการเสียก่อน ดังนั้นพระองค์จึงทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าที่เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127

พระเกียรติคุณ

สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ "วีรกษัตริย์" หรือในพระนาม "พระองค์ดำ" ทรงพระปรีชาสามารถในการสงครามและการปกครอง อีกทั้งพระองค์ยังเป็นนักการต่างประเทศที่ทรงพระปรีชาสามารถในการดำเนิน นโยบายอย่างกล้าหาญอีกด้วย
ในช่วงที่เสด็จกลับมาจากพม่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงมอบหมายให้พระองค์เสด็จไปปกครองหัวเมืองเหนือ โดยประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ในระยะเวลา 14 ปีที่ทรงปกครองหัวเมืองเหนือนั้นพระองค์ดำเนินการหลายอย่าง ที่เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการสงครามกอบกู้เอกราช เช่น ฝึกทหาร รวบรวมกำลังคนที่หลบหนีพม่าเข้าป่า ฝึกฝนยุทธวิธีการรบต่าง ๆ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการช่วยกษัตริย์พม่ารบหลายครั้ง เช่น การปราบเจ้าฟ้าไทยใหญ่เมืองคังได้สำเร็จ ทำให้เป็นที่ไม่ไว้วางใจของพม่าและวางแผนที่จะลอบปลง พระชนม์ แต่พระองค์ทรงล่วงรู้ถึงแผนการเสียก่อน ดังนั้นพระองค์จึงทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าที่เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127

ด้านการปกครอง

เมื่อขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา สมเด็จพระนเรศวรได้เริ่มขยายอำนาจไปยังเมืองต่าง ๆ เช่น ล้านช้าง  เชียงใหม่  ลำปางและกัมพูชาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา
เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการศึกสงครามหลายครั้ง รวมทั้งความพยายามฟื้นฟูอยุธยาหลังจากที่ถูก ปกครองโดยพม่า ทำให้พระองค์ทรงดำเนินนโยบายการปกครองที่เน้นระเบียบวินัยเข้มงวด
นอกจากนี้ ทรงดำเนินนโยบายการปกครองแบบดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยส่งขุนนางออกไปปกครองเมือง สำคัญต่าง ๆ เช่น เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ที่ตั้งและสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อพัฒนาการของทวีปเอเชีย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ที่ตั้งเเละสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของทวีปเอเชีย


     หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า วิธีการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวิชาใดนั้น ครูจะต้องสร้างสมรรถนะสำคัญ 4 ประการให้กับนักเรียน เพื่อใช้ในการศึกษาเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

        1.  รู้ภาษาดิจิตอล

        2.  รู้คิดประดิษฐ์สร้าง

        3.  สื่อสารมีประสิทธิภาพ

        4.  สื่อสารมีประสิทธิผล

ซึ่งสมรรถนะทั้งสี่ประการจะนำไปสู่สมรรถนะสำคัญ 5 ประการ คือ

1.  ความสามารถในการสื่อสาร
2.  ความสามารถในการคิด
3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

“โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ไม่ได้สอนการศึกษา แต่สอนวิธีการศึกษา” นั่นก็หมายความว่า บทบาทและหน้าที่ของโรงเรียนคือ สอนวิธีการหาความรู้ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปให้ถึงคำว่า “ปัญญา” ซึ่งผู้เรียนเป็นรอบรู้ที่ถูกต้องและเป็นไปตามความจริง  ผ่านกระบวนการในการเรียนรู้ ที่ต้องประยุกต์ปรับเปลี่ยนวิธีการ นำไปสู่เป้าหมายของการเรียนรู้ อย่างถูกต้อง นั่นคือ ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนเป็นมีความสุข และมีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ผู้เขียนในฐานะ ครู ทำหน้าที่แนะนำวิธีการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน สามารถนำไปประยุกต์ พัฒนาใช้ความรู้ให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ในการเรียน การดำเนินชีวิตของผู้เรียน อย่างมั่นคง มีความสุขในสังคม จึงสร้างโมเดลแนวคิดกระบวนการเรียนการสอน เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรฐานของหลักสูตรที่กำหนดไว้

การพัฒนาการเรียนรู้ในปัจจุบัน จะต้องให้ผู้เรียนมีสมรรถนะสำคัญในกระบวนการวิธีการเรียนรู้ที่สำคัญๆ ได้แก่

สมรรถนะที่ 1 ผู้เรียนรู้ภาษาดิจิตอล คำว่าภาษาดิจิตอล ก็คือภาษาที่สามารถสื่อสารสั่งงาน ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้รู้เรื่อง เช่นมีความสามารถเปิดปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ปิดเปิดใช้โปรแกรมทำงานต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและหลากหลาย ยิ่งใช้ได้มากก็แสดงให้เห็นความรู้ความสามารถด้านภาษาดิจิตอล นั่นเอง

สมรรถนะที่ 2 ผู้เรียนรู้คิดประดิษฐ์สร้าง หมายความว่า ผู้เรียนสามารถนำเอาองค์ความรู้และองค์ปัญญาจากสมรรถนะที่ 1 นำมาประยุกต์ใช้ จัดทำเครื่องมือเพื่อการสื่อสารเรียนรู้ การต่อยอดองค์ความรู้ให้หลากหลาย เช่นนำความรู้จากสมรรถนะที่ 1 รู้ภาษาดิจิตอล มาสร้างเว็บ สร้างบล็อก สร้างกลุ่มการเรียนรู้ผ่านโครงข่ายการสื่อสารบนระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ

สมรรถนะที่ 3 ผู้เรียนสามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึงผู้เรียนสมารถนำสมรรถนะที่ 1 สมรรถนะที่ 2 นำมาประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เผยแพร่ แบ่งบัน แลกเปลี่ยนความรู้ ได้อย่างกว้างขวางบนโลกไอที อย่างไม่มีขีดจำกัด บนพื้นฐานของหลักความรู้ หลักจรรยาบรรณที่ดี

สมรรถนะที่ 4 ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิผล หมายถึง การนำสมรรถนะที่ 1 สมรรถนะที่ 2 และสมรรถนะที่ 3 นำองค์ความรู้ต่างๆ มาเผยแพร่ แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น จากผู้อ่านผู้สนใจ แล้วนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ จนตกผลึกทางความคิด ทางปัญญา นำมาเขียนเป็นบทความในทัศนะของตน เพื่อพัฒนาและต่อยอดและประยุกต์องค์ความรู้ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

โลกหมุนไม่เคยหยุด เป็นความจริงที่ไม่สามารถปฎิเสธได้ เด็กๆ ยุคใหม่เกิดพร้อมๆกับคอมพิวเตอร์ ยอมรับว่าการนำไอทีมาเป็นสื่อการสอนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับคุณครูรุ่นเก่า แต่ก็ไม่ใช่จะเป็นไปไม่ได้ อยู่ที่ความพยายาม โดยเฉพาะในฐานะที่ต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาศิษย์ จะหยุดนิ่งไม่ได้

ผู้เขียนตัดสินใจค้นคว้าศึกษา และพิจารณาตัดสินใจนำเทคโนโลยี สังคมออนไลน์ โซเชี่ยลมีเดีย ที่มีความง่าย เหมาะสม และฟรีที่เขาใช้กัน ไม่ว่าจะเป็น Facebook Tawitter  Skype  Sites google  Blogger  ฯลฯ และตัดสินใจนำเอามาประยุต์ใช้กับผู้เรียนในรายวิชาโลกศึกษา วิชาภูมิศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ ที่ผู้เขียนรับผิดชอบในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ปรับวิธีการเรียน เปลี่ยนวิธีการสอนอย่างช้าๆ เพราะปัจจัยแวดล้อม เช่นไม่มีห้องเรียนที่มีสื่อการเรียน ที่เพียงพอและเหมาะสม เด็กมีความแตกต่าง บางคนมีคอมพิวเตอร์ บางคนไม่มี ก็ค่อยหาข้อมูล ระหว่างที่ปรับเปลี่ยน ก็ค้นหาข้อมูลผลิตผลงานด้วยการเขียนบล็อก พัฒนาเนื้อหา แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้กับครูด้วยกัน การทำงานเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำอย่างเป็นขั้นตอน สร้างความรู้ ให้เกิดความเข้าใจ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้

ทั้งนี้การเรียนการสอน ที่ใช้วิธีให้ผู้เรียน ไปค้นเนื้อหาสาระความรู้ในห้องสมุด แล้วนำมาเขียนรายงาน ลงในกระดาษ และนำมานำเสนอหน้าห้องเรียนให้เพื่อนๆ รับฟัง ก็ปรับเปลี่ยนให้ค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรม Google ซึ่งเป็นห้องสมุดแหล่งเรียนรู้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อได้ข้อมูลก็นำเสนอขึ้นบนเครือข่าย ในเว็บต์ที่สร้างขึ้นเอง เพื่อเผยแพร่และแชร์ ให้ผู้สนใจเข้าไปอ่านและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาสาระในบทความ ที่จัดทำ ทั้งใน Facebook  Web site Blogger ที่ตนเองสร้างขึ้นมา ผู้เรียนนำความคิดเห็นที่มีผู้แสดงนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ โดยอาศัยหลักการคิดวิเคราะห์ ( 5 W 1 H ) คือ

1.            What   = อะไร
2.            When   = เมื่อไหร่
3.            Where  = ที่ไหน
4.            Why    = ทำไม
5.            Who    = ใคร
6.            How    = อย่างไร

หน่วยการเรียนรู้ที่4 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

หน่วยที่การเรียนรู้ที่ 4 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  มีพระนามเดิมว่า  "ฉิม"  ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี  เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา  ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรในคราวที่สมเด็จพระราชบิดาทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรในคราวที่สมเด็จพระราชบิดาทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325
          พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้

                    1.  ด้านการเมืองการปกครอง  

         1.1)  ทรงตรากฎหมายห้ามสูบซื้อขายฝิ่นใน พ.ศ. 2354  และ พ.ศ. 2362  โดยกำหนดบทลงโทษแก่ผู้สูบฝิ่นไว้อย่างหนัก
         1.2)  ทรงปรับปรุงกฎหมายพระราชกำหนดสักเลกเมื่อ พ.ศ. 2353  เพื่อเรียกเกณฑ์ไพร่พลเข้ารับราชการ  โดยลดเวลาให้ไพร่มารับราชการเพียง 3 เดือน  ทำให้ไพร่มีเวลาทำมาหากินส่วนตัวมากขึ้น
                    
                    2.  ด้านสังคมและวัฒนธรรม

         2.1)  โปรดเกล้า ฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งด้วยการสถาปนาโบสถ์และวิหารใหม่  เสริมพระปรางค์องค์เดิมให้ใหญ่ขึ้น  และพระราชทานนามใหม่ว่า  "วัดอรุณราชวราราม"  ทรงให้แปลบทสวดมนต์จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย  เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจคำสอนต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
         2.2)  ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2360  ตามที่เคยปฏิบัติกันมาในสมัยสุโขทัย
               
                    3.  ด้านศิลปกรรมและวรรณกรรม

         3.1)  ทรงปรับปรุงท่ารำต่าง ๆ ทั้งโขนและละคร  ซึ่งกลายเป็นต้นแบบมาถึงปัจจุบัน  ทรงประพันธ์เพลง  "บุหลันลอยเลื่อน"  หรือ  "บุหลันลอยฟ้า"
         3.2)  ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมมากมาย  เช่น  ขุนช้าง  ขุนแผน  คาวี  สังข์ทอง  ไกรทอง  อิเหนา
         3.3)  ทรงแกะสลักบานประตูวิหารพระศรีศากยมุนี  ที่วัดสุทัศนเทพวราราม  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร

หน่วยการเรียนรู้ที่ 16 ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 16 ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา


ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
ภูมิปัญญา  หมายถึง  ความรู้  ทักษะ  ความเชื่อ  และพฤติกรรมของคนไทย  โดยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน  คนกับธรรมชาติ  การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของบุคคล  ชุมชนและสังคม  ตลอดจนพื้นฐานความรู้เรื่องต่าง  ๆ  ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย

ภูมิปัญญาด้านศาสนาและความเชื่อ


พระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูมีบทบาทต่อการวางรากฐานระบบการเมืองบ้านเมือง เป็นปึกแผ่นคติความเชื่อนี้ได้หล่อหลอมสังคมอยุธยาให้เป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดจากความเหมาะสม ทางสภาพภูมิศาสตร์และความรู้ที่สะสมมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษทำให้อยุธยาเป็น แหล่งเพาะปลูก
โดยเฉพาะการปลูกข้าวซึ่งการปลูกข้าวถือเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของคน อยุธยาที่รู้จักคัดเลือก พันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศที่น้ำท่วมถึง คือข้าวพันธุ์พิเศษนอกจากนี้ชาวอยุธยารู้จักปลูกต้นไม้ผลไม้ในบริเวณที่เป็น คันดินธรรมชาติ (Natural Levee) ที่ขนานไปกับแม่น้ำลำคลองผลไม้เหล่านี้ได้รับปุ๋ยธรรมชาติทำให้มีรสชาติ อร่อย พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกอยู่ในสังคมอยุธยา
ผู้มีความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาย่อมเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ที่ทำให้พ้นทุกข์เนื่องจากมนุษย์ต้องเวียนว่าย ตายเกิดอันเกิดจากกฎ แห่งกรรมและเรื่องนรก สวรรค์ นอกจากนี้ยังเชื่อในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่ว่าทุกสิ่งคืออนิจจังภูมิปัญญา
จากความเชื่อนี้ทำให้ชาวอยุธยาสามารถ เผชิญกับปัญหาความทุกข์ยากต่างๆในชีวิตได้ด้วยความอดทน นอกจากนี้การที่สังคมอยุธยาเป็นสังคมนานาชาติที่มีคนต่างชาติต่างศาสนาเข้า มาตั้งถิ่นฐาน โดยพระมหากษัตริย์อยุธยาทรงอนุญาตให้ปฏิบัติพิธีกรรมและเผยแผ่ศาสนาได้โดย เสรี ความเป็นสังคมนานาชาติเกิดจากความเข้าใจและเห็นคุณค่าขันติธรรมในเรื่อง ศาสนาภูมิปัญญาด้านศาสนาทำให้คนอยุธยาหลักในการดำเนิน   ชีวิตเพื่อความสุขขิงตนเองและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม
ภูมิปัญญาในสมัยอยุธยาสามารถประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน คือ การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการนำเทคโนโลยีบางอย่างที่เหมาะสมมา ปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและความอดทนเข้าใจผู้อื่นที่มีเชื้อ ชาติ ศาสนาหรือมีความคิดแตกต่างกับตนเอง โดยมุ่งทำให้สังคมมีความสงบสุข
 ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพ


อยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรือง เศรษฐกิจของอยุธยามีทั้งที่ทำการเกษตรและการค้าภายใน ต่อมาจึงพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการค้ากับนานาชาติ ภูมิปัญญาในด้านเกษตรกรรมชาวสวนผลไม้อยุธยา ได้ปรับปรุงพันธุ์ผลไม้จนทำให้ผลไม้ที่มีชื่อเสียง
ในปัจจุบันด้วยภูมิปัญญา ดังนี้อยุธยาจึงมีปริมาณอาหาร พอเพียงกับความต้องการ ของพลเมือง ทำให้สามารถพึ่งตนเองได้ เพราะอาหารหลัก คือ ข้าวสามารถปลูกเองได้ สำหรับพืชผักและกุ้ง หอย ปู ปลา หาได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป
สภาพภูมิประเทศของอยุธยามีคูคลองเป็นจำนวนมาก ชาวอยุธยาใช้ประโยชน์จากคูคลองที่ปรียบเสมือนเป็นถนนให้เป็นเส้นทางคมนาคม ที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นได้มีการคมนาคมการขุดคลองลัด เพื่อย่นระยะทางจากปากแม่น้ำ เช่น คลองลัดบางกอกใหญ่ เพื่อความสะดวกในการคมนาคมขนส่งตั้งแต่ยุคกลาง เป็นต้นมา อยุธยาส่งข้าวเป็นสินค้าหลักไปขายยังต่างแดนเช่น ที่เมืองจีน
นอกจากนี้ความเหมาะสมของที่ตั้งอยุธยาไม่ห่างจากทะเลมากนักและมีสินค้า หลากหลายชนิด ทำให้พ่อค้าต่างชาติเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาทำให้อยุธยากลายเป็น เมืองท่านานาชาติโดยเฉพาะในพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ พระมหากษัตริย์อยุธยา
โปรดคัดสรรชาวต่างชาติให้เข้ารับราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานทางทหารและการค้าในด้านการค้าชาวต่างชาติ เหล่านี้มีความชำนาญทั้งด้านการค้าและการเดินเรือ มีความรู้ด้านภาษาและเข้าใจวัฒนธรรมของชาติที่อยุธยาติดต่อค้าขายด้วยการรับ ชาวต่างชาติเข้ารับราชการ แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวอยุธยาที่รู้จักเลือก ใช้คนที่มีความชำนาญให้เป็นผู้รับผิดชอบงานต่างๆอยุธยาจึงสามารถขนส่งสินค้า บรรทุกสำเภาไปขายยังเมืองท่าดินแดนต่างๆได้โดยสะดวก
สำเภาอยุธยายังแสดงให้เห็นภูมิปัญญาไทย กล่าวคือพระมหากษัตริย์โปรดให้ต่อสำเภาโดยช่างชาวจีน เป็นเรือสำเภาประเภท ๒ เสา คล้ายกับสำเภาจีนซึ่งแล่นอยู่ตามทะเลจีนใต้ ใบเรือทั้งสองทำด้วยไม้ไผ่สานซึ่งหาได้ง่ายและมีน้ำหนักเบา ส่วนใบเรือด้านบนสุดและด้านหัวเรือใช้ผ้าฝ้ายซึ่งเป็นวัดุที่ชาวอยุธยาทอใช้ ในครัวเรือนแต่วิธีการเป็นวิธีแบบชาวตะวันตกที่ช่วยให้สำเภาเร็วขึ้นสำหรับ หางเสือของสำเภาเป็นไม้เนื้อแข็งคล้ายกับสำเภาจีน (ชนิดที่เดินทางไกล) แต่ทว่าหางเสือของสำเภาอยุธยา ได้เจาะรูขนาดใหญ่ไว้ ๓ รู แล้วสอดเหล็กกล้า ยึดติดกับลำเรือทำให้บังคับเรือได้ดีและมีความคงทน
นอกจากนี้บริเวณกาบเรือใช้น้ำมันทาไม้และใช้ยางไม้หรือสีทา ในส่วนของเรือที่จมน้ำโดยผสมปูนขาวเพื่อป้องกันเนื้อไม้และตัวเพลี้ยเกาะ ซึ่งทำให้เรือผุ สำเภาอยุธยานับเป็นภูมิปัญญาของคนอยุธยาที่ใช้เทคโนโลยีผสมกันระหว่างสำเภา จีนกับเรือแกลิออทของ ฮอลันดาเพื่อให้เรือวิ่งได้เร็วและทนทาน ภูมิปัญญาของชาวอยุธยาในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการค้าเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เศรษฐกิจ ของอยุธยามั่งคั่งรุ่งเรือง


ภูมิปัญญาด้านการตั้งถิ่นฐาน


การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยอดีตมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทาง ภูมิศาสตร์ กล่าวคือ ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งอาหารและในที่ซึ่งมีความปลอดภัยสำหรับอยุธยาตั้ง อยู่ในที่ราบลุ่มดินดอน สามเหลี่ยมเจ้าพระยาตอนล่างสภาพโดยทั่วไปของพื้นที่อุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับความต้องการ ของชุมชน ขณะเดียวกันที่ตั้งของอยุธยายังตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยาลพบุรี ป่าสักไหลมาบรรจบกัน ทำให้ปลอดภัยและสามารถใช้แม่น้ำลำคลองเหล่านี้เป็นเส้นทางคม นาคมติดต่อค้าขายและเข้าถึงแหล่งทรัพยากร ที่มีอยู่มากมายในหัวเมืองอื่นๆทางหัวเมืองเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือตลอด จนอาณาจักรที่อยู่ลึกเข้าไปเช่นอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง และพุกามได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ที่ตั้งของอยุธยาอยู่ห่างจากปากน้ำเจ้าพระยาประมาณ ๒๐๐  กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ ๓ วัน  เพื่อล่องเรือจากราชธานีไปจนถึงปากน้ำ ดังนั้นเมื่อข้าศึกยกทัพมาทะเลจึงมีเวลาเตรียมพร้อม
สำหรับการป้องกันเมืองการที่อยุธยา ที่มีที่ตั้งซึ่งมีสภาพแวดล้อมเช่นนี้ทำให้อยุธยามีความปลอดภัยและมีอาหารอุดมสมบูรณ์
อย่างไรก็ตามสภาพภูมิประเทศของอยุธยา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก จะมีน้ำท่วมขังกินเวลานานทำให้เป็นอุปสรรคต่อการตั้งถิ่นฐานแต่ชาวอยุธยาและ ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ ปัญหาโดยการ
ปลูกเรือนใต้ถุนสูงพ้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม เมื่อน้ำ ลดพื้นดินแห้งดีแล้วสามารถใช้ประโยชนจากบริเวณใต้ถุนเรือนซึ่งเป็นที่โล่งทำ กิจกรรมภายในครัวเรือน เช่น จักสาน ทอผ้า เลี้ยงลูก หรือใช้สำหรับเก็บอุปกรณ์จับปลาและเครื่องมือมาทำนา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 15 สังคมสมัยอยุธยาสภาพสังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 15 สังคมสมัยอยุธยา

          สภาพสังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา

สังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา แม้ว่าจะต่อเนื่องมาจากสังคมสมัยสุโขทัย แต่ก็ได้มีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปจากสังคมสมัยสุโขทัยหลายด้าน ทั้งนี้ก็เพราะว่าสถาบันสูงสุดของการปกครองได้เปลี่ยนฐานะไป นั่นคือ พระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนฐานะจากมนุษยราช
ในสมัยสุโขทัยเป็นเทวธิราชขึ้นในสมัยอยุธยา เปลี่ยนจากฐานะความเป็น "พ่อขุน" มาเป็น "เจ้าชีวิต" ของประชาชนซึ่งเป็นผลให้ระบบและสถาบันทางการปกครองต่างๆ แตกต่างไปจากสังคมไทยสมัยสุโขทัยด้วยชนชั้นของสังคมสมัยอยุธยา
สังคมอยุธยา เป็นสังคมที่เต็มไปด้วยชนชั้น นับตั้งแต่การแบ่งแยกชนชั้นอย่างเด็ดขาด ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์ ก็มีอันดับสูงต่ำลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ในหมู่ราษฎร ก็มีการแบ่งชนชั้นกันเป็นชนชั้นผู้ดีกับชนชั้นไพร่ ในหมู่ข้าราชการก็มีศักดินาเป็นตัวกำหนดความสูงต่ำของข้าราชการในชนชั้น ต่างๆ ซึ่งชนชั้นต่างๆ เหล่านี้ จะก่อให้เกิดมีสิทธิในสังคมอยุธยาขึ้นแตกต่างกันด้วย
ชนชั้นสูงสุดในสมัยอยุธยาคือพระบรมวงศานุวงศ์ ส่วนข้าราชการหรือขุนนางนั้น ก็แบ่งเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันไปตามลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมกับตำแหน่งหน้าที่แล้ว ราชการสมัยอยุธยายังมีศักดินาซึ่งมากน้อยตามตำแหน่งหน้าที่ ระบบศักดินานี้เป็นระบอบของสังคมอยุธยาโดยแท้ เพราะศักดินานั้น ทกคนต้องมีตั้งแต่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ พระบรมวงศานุวงศ์ลงไปจนถึงข้าราชการชั้นผู้น้อย และประชาชนธรรมดา จำนวนลดหลั่นลงไป
นอกจากจะแบ่งตามหน้าที่ตำแหน่งและความรับผิดชอบแล้ว ชนชั้นในสังคมอยุธยา ยังแบ่งออกกว้างๆ เป็นสองชนชั้นอีก คือ ผู้มีศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป เรียกว่าชนชั้นผู้ดี ส่วนที่ต่ำลงมาเรียกว่า ไพร่ แต่ไพร่ก็อาจเป็นผู้ดีได้ เมื่อได้ทำความดีความชอบเพิ่มศักดินาของตนขึ้นไปถึง 400 แล้ว และผู้ดีก็อาจตกลงมาเป็นไพร่ได้หากถูกลดศักดินาลงมาจนต่ำกว่า 400 การเพิ่มการลดศักดินา
ในสมัยอยุธยาก็อาจทำกันง่ายๆ หากได้ทำความดีความชอบหรือความผิด การแบ่งคนออกเป็นชนชั้นไพร่ และชนชั้นผู้ดีเช่นนี้ ทำให้สิทธิของคนในสังคมแต่ละชั้นต่างกัน สิทธิพิเศษต่างๆ ตกไปเป็นของชนชั้นผู้ดีตามลำดับแห่งความมากน้อยของศักดินา เช่นผู้ดีเองและคนในครอบครัวได้รับยกเว้นไม่ถูกเกณฑ์ไปใช้งานราชการ ในฐานะที่เรียกกันว่า แลก เมื่อเกิดเรื่องศาล ผู้ดีก็ไม่ต้องไปศาล เว้นแต่ผิดอาญาแผ่นดิน เป็นขบถ ธรรมดาผู้ดีจะส่งคนไปแทนตนในโรงศาล มีทนายไว้ใช้เป็นการส่วนตัว นอกจากนั้น ก็ยังมีสิทธิเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทได้ในขณะที่เสด็จออก ขุนนาง เมื่อมีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ ผู้ดีที่มีศักดินาสูงๆ จะต้องคุมคนไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อรับราชการทัพได้ในทันที
เมื่อพระมหากษัตริย์เรียก เช่น ผู้มีศักดินา 10,000 และมีหน้าที่บังคับบัญชากรมกอง ซึ่งมีไพร่หลวงสังกัดอยู่ ก็ต้องรับผิดชอบกะเกณฑ์คนแข็งแรงและมีประสิทธิภาพด้วย


สังคมอยุธยา


สังคมอยุธยานั้น กฎหมายกำหนดให้ทุกคนต้องมีนาย ตามกฎหมาย ลักษณะรับฟ้องมาตรา 10 กล่าวว่า "ราษฎรรับฟ้องร้องด้วยคดีประการใดๆ แลมิได้สังกัดมูลนายอย่าพึงรับไว้บังคับบัญชาเป็นอันขาดทีเดียว ให้ส่งตัวผู้นั้นแก่สัสดี เอาเป็นคนหลวง" จะเห็นว่า ไพร่ทุกคนของสังคมอยุธยาต้องมีสังกัดมูลนายของตน ผู้ไม่มีนายสังกัดกฎหมายไม่รับผิดชอบในการพิทักษ์รักษาชีวิตและทรัพย์สิน ไพร่จะต้องรับใช้ชาติในยามสงคราม จึงต้องมีสังกัดเพื่อจะเรียกใช้สะดวก เพราะในสมัยอยุธยานั้น ไม่มีทหารเกณฑ์หรือทหารประจำการในกองทัพเหมือนปัจจุบัน จะมีก็แต่กองทหารรักษาพระองค์เท่านั้น
นอกจากนั้น เป็นเพราะสมัยแรกตั้งกรุงศรีอยุธยา ต้องใช้ชายฉกรรจ์จำนวนมากในการปกป้องข้าศึก ศัตรู ความจำเป็นของสังคมจึงบังคับให้ราษฎรต้องมีนาย เพราะนายจะเป็นผู้เกณฑ์กำลังไปให้เมืองหลวงป้องกันภัยจากข้าศึกศัตรู และนายซึ่งต่อมากลายเป็น "เจ้าขุนมูลนาย" ต้องมีความรับผิดชอบต่อลูกหมู่ของตน ถ้านายสมรู้ร่วมคิดกับลูกหมู่ทำความผิด ก็ถูกปรับไหมตามยศสูงต่ำ และหากลูกหมู่ของตนถูกกล่าวหาว่าเป็นโจรปล้นทรัพย์ มูลนายก็ต้องส่งตัวลูกหมู่ให้แก่ตระลากร
สังคมอยุธยาจึงเป็นสังคมที่ต้องมีความรับผิดชอบมากอยู่ มีกฎเกณฑ์ต่างๆ มากมาย เพราะลักษณะและองค์ประกอบของสังคมซับซ้อนกว่าสังคมสุโขทัย

ระบบราชการสมัยกรุงศรีอยุธยา

ลักษณะสังคมไทยที่น่าสนใจอยู่อีกประการหนึ่งคือ ระบบราชการ ซึ่งเป็นเครื่องผูกมัดราษฎรให้มีภาระต่อแผ่นดิน ชีวิตคนไทยได้ผูกพันอยู่กับราชการมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ข้าราชการในสมัยอยุธยา เรียกว่า ขุนนาง มียศหรือบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาหรือออกญาเป็นชั้นสูงสุด และลดลงไปตามลำดับคือ เจ้าหมื่น พระ จมื่น หลวง ขุน จ่า หมื่น และพัน ส่วนเจ้าพระยา และสมเด็จพระยานั้น เกิดในตอนปลายๆ สมัยอยุธยา ส่วนยศ เจ้าหมื่น จมื่น และจ่านั้น เป็นยศที่ใช้กันอยู่ในกรมหาดเล็กเท่านั้น
ส่วนตำแหน่งข้าราชการสมัยอยุธยาก็มี อัครมหาเสนาบดี เสนาบดี จางวาง เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุหบัญชี เป็นต้น ตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี และเสนาบดีนั้นในระยะแรกๆ มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ต่อมาในระยะหลังๆ ก็เป็นเจ้าพระยาไปหมด ส่วนตำแหน่งอื่นๆ ตั้งแต่ จางวาง เจ้ากรม ปลัดกรมลงมาจนถึงสมุบัญชีนั้น มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาบ้าง พระบ้าง จนถึงหลวง และขุนตามความสำคัญของตำแหน่งนั้นๆ ข้าราชการในสมัยอยุธยา ไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนหรือเงินปี ได้รับพระราชทานเพียงที่อยู่อาศัยและเครื่องอุปโภคบริโภคบางอย่าง เช่น หีบเงินใช้ใส่พลู ศาตราวุธ เรือยาว สัตว์ พาหนะ เลกสมกำลังและเลกทาสไว้ใช้สอย ที่ดินสำหรับทำสวนทำไร่ แต่เมื่อออกจากราชการแล้วก็ต้องคืนเป็นของหลวงหมดสิ้น


ไพร่สมัยอยุธยา


ระบบราชการของอยุธยานั้น ได้นำคนลงเป็นไพร่ สังคมอยุธยาจึงมีไพร่มีนาย ตามจดหมายเหตุลาลูแบร์กล่าวไว้ว่า "ประชาชนชาวสยามรวมกันเป็นกองทหารรักษาดินแดน" ซึ่งทุกคนต้องขึ้นทะเบียนหางว่าวกรมสุรัสวดีเข้าไว้ทั้งหมด ทุกคนเป็นพลรบต้องเกณฑ์เข้าเดือนรับราชการในพระองค์ปีละ 6 เดือน พลเมืองทั้งสิ้นต้องขึ้นทะเบียนเป็นหลักฐานไว้โดยแบ่งออกเป็นฝ่ายขวาฝ่าย ซ้าย เพื่อทุกคนรู้ว่าตนต้องขึ้นสังกัดหน้าที่ฝ่ายใด นอกจากนั้น ยังแบ่งส่วนราชการออกเป็นกรมอีก แต่ละกรมมีหัวหน้าคนหนึ่งเรียกว่า นาย จนกระทั่งนายนี้เป็นคำแสดงความเคารพยกย่องที่ใช้กันทั่วไปแม้ระเบียบการ ปกครองสมัยอยุธยาจะแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน แต่ก็ปรากฏว่าใช้ได้แค่ยามปรกติเท่านั้น พอเกิดสงครามขึ้น เจ้านายทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนก็ต้องเข้าประจำกองตามทำเนียบตน ทั้งนี้เพราะกำลังพลมีน้อย ไม่อาจแยกหน้าป้องกันประเทศไว้กับทหารฝ่ายเดียวได้ จำเป็นต้องใช้หลักการรวม จึงทำให้ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร
สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเรียกว่า ไพร่ ไพร่เป็นคำที่กินความกว้างขวาง เพราะผูกพันอยู่กับราชการมากกว่าทหารปัจจุบัน ในสมัยอยุธยา ไพร่คือ ประชาชนที่สังกัดมูลนายต่างๆ มีหน้าที่และความรับผิดชอบแยกออกได้ดังนี้
1. ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่สังกัดวังหลวงหรือพระเจ้าแผ่นดิน ไพร่หลวงจะต้องถูกเกณฑ์เข้ารับราชการปีละ 6 เดือน คือเข้าเดือนหนึ่งออกเดือนหนึ่งสลับกันไป ถ้าไม่อยากถูกเกณฑ์เข้ารับราชการก็จะต้องเสียเงินแทน ซึ่งอาจจะเป็นเดือนละ 4-6 บาท ไพร่หลวงจะต้องสังกัดอยู่ในกรมพระสัสดีซ้าย ขวานอก ใน ไพร่หลวงที่เป็นชายเมื่อเกิดศึกสงครามก็จะต้องออกรบได้
2. ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่สังกัดบรรดาเจ้านายหรือขุนนางใหญ่น้อยทั้งหลายในยามปรกติก็ถูกเกณฑ์ แรงงานหรือรับราชการถ้าเกิดศึกสงครามผู้เป็นชายก็จะต้องออกรบ มีบางครั้งพวกไพร่หลวงหนีไปสมัครเป็นไพร่สมอยู่กับเจ้านาย กฎหมายอยุธยามีบทลงโทษถึงจำคุกและถูกเฆี่ยนถ้าหากจับได้นอกจากนั้น กฎหมายอยุธยายังได้กำหนดอีกว่า ถ้าพ่อกับแม่สังกัดแตกต่างกันเช่นคนหนึ่งเป็นไพร่หลวง อีกคนหนึ่งเป็นไพร่สม ลูกที่เกิดอาจจะต้องแยกสังกัดตามที่กฎหมายกำหนด
3. ไพร่ราบ หมายถึง ไพร่ที่สังกัดมูลนาย มีอายุระหว่าง 13-17 ปี มีศักดินาระหว่าง 15
4. ไพร่ส่วย คือ พวกที่ยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์เข้ามารับราชการแต่จะต้องส่งสิ่งของมาให้หลวง แทน เช่น อาจจะเป็นดีบุก ฝาง หญ้าช้าง ถ้าไม่นำสิ่งของเหล่านี้มาจะต้องจ่ายเงินแทน
5. เลกหรือเลข เป็นคำรวมที่ใช้เรียกไพร่หัวเมืองทั้งหลายตลอดจนข้าทาส พวกเลกหัวเมือง ยังขึ้นกับกระทรวงใหญ่ 2 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย และกลาโหม มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา


ทาสสมัยอยุธยา


เป็นที่ยอมรับกันว่า สังคมอยุธยามีทาสไว้ใช้ ทาสเป็นชนชั้นอีกชนชั้นหนึ่งของสังคมสมัยอยุธยาและกฎหมายอยุธยาก็ได้ยอมรับ การมีทาส มีบทบัญญัติเกี่ยวกับทาสไว้มากมายและได้แบ่งประเภทของทาสไว้ 7 พวกด้วยกันคือ
1. ทาสสินไถ่

2. ทาสเกิดในเรือนเบี้ย

3. ทาสได้มาแต่บิดามารดา

4. ทาสท่านให้

5. ทาสอันได้ช่วยเหลือในยามโทษทัณฑ์

6. ทาสอันได้เลี้ยงมาเมื่อเกิดทุพภิกขภัย

7. ทาสอันได้ด้วยเชลย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 ปัจจัยที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของอาฌาจักรอยุธยา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 ปัจจัยที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของอาฌาจักรอยุธยา

              โครงสร้างทางเศรษฐกิจ            อยุธยามีพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี  มาตั้งแต่แรกตั้งอาณาจักรเนื่องจากตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มดินดอนสาม เหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร และการค้ากับต่างประเทศ

      1. เกษตรกรรม อยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก และลพบุรี พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงและเหมาะต่อการเพาะปลูกโดยเฉพาะการปลูกข้าว  ข้าวจึงเป็นผลิตผลที่สำคัญของอาณาจักร ในการปลูกข้าวนั้นประชากรส่วนใหญ่จะทำในลักษณะพอยังชีพมีการใช้เทคโนโลยี อย่างง่ายๆ โดยใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความเหมาะสมจึงมีผลผลิตค่อนข้างมากที่จะส่งส่วย ให้กับรัฐซึ่งทางรัฐเองก็จะนำไปหาผลประโยชน์อีกทางหนึ่ง นอกจากข้าวแล้วประชากรยังมีการผลิตในทางการเกษตรอีกหลายประเภท เช่น ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และการประมง ซึ่งผู้ปกครองเอง ก็เห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพเกษตรดังกล่าว จึงมีนโยบายสนับสนุนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สนับสนุนให้ราษฎรเข้าไปทำกินในที่ดินว่างเปล่า ตรากฎหมายคุ้มครองผลผลิตของราษฎร เป็นต้น กระบวนการผลิตทางการเกษตรนั้น  ประชากรทั่วไปจะผลิตโดยใช้แรงงานครอบครัวและชุมชนตามประเพณีที่เคยปฏิบัติ กันมา ส่วนการผลิตของพระมหากษัตริย์ ขุนนางจะผลิตโดยใช้การเกณฑ์แรงงานไพร่และทาส กระบวนการผลิตดังกล่าวก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นหลายประการ เช่น การลงแขก การประกอบพิธีกรรม พืชมงคล และการทำขวัญไร่นา เป็นต้น
         
           การเกษตรเป็นเศรษฐกิจหลักที่ทำให้อยุธยามีความรุ่งเรือง บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า ทำให้อยุธยาขยายอาณาเขตประเทศออกไปอย่างกว้างขวางและสามารถเอาชนะอาณาจักร น้อยใหญ่ในดินแดนสุวรรณภูมิได้

      2. อุตสาหกรรม ผลิตผลทางอุตสาหกรรมของอยุธยา ส่วนใหญ่ คือ อุตสาหกรรมในครัวเรือน ผลิตเครื่องใช้ไม้สอยอย่างง่ายๆ รวมไปถึงเครื่องครัวเรือนของชุมชนชั้นสูงและในราชสำนัก เช่น เสื้อผ้า เครื่องจักรสาน เครื่องเหล็ก เครื่องแกะสลัก เครื่องประดับ การผลิตเครื่องทองรูปพรรณ อุตสาหกรรมที่สำคัญอีกอย่างก็ คือ การทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ ดังปรากฏหลักฐานว่ามีการพบเตาเผาภาชนะหลายเตาในบริเวณ แม่น้ำน้อย นอกจากนี้มีอุตสาหกรรมการต่อเรือขนาดเล็ก และเรือขนาดใหญ่ เพื่อใช้บรรทุกสินค้า

      3. การค้า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า อยุธยามีบทบาทสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นอาณาจักรการค้า ซึ่งได้สร้างความมั่งคั่งให้กับอาณาจักรอย่างต่อเนื่องทั้งนี้เพราะสภาพที่ ตั้งของอยุธยา เหมาะสมกับการค้าขายทั้งภายใจอาณาจักร และระหว่างประเทศ

             3.1  การค้าขายภายในอาณาจักร  ด้วยสภาพที่ตั้งของอยุธยาอยู่บริเวณใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา และอยู่บริเวณที่แม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน  ดังนั้นจึงเป็นชุมชนทางการค้าที่พ่อค้าจากหัวเมืองทางเหนือ จะนำสินค้าของป่ามาแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่มาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากพ่อค้าจีนที่เดินทางเข้ามาจอดเรือซื้อขายบริเวณปากน้ำเจ้าพระยา สินค้าเหล่านี้จะมีการค้าขายโดยผ่านพระคลังสินค้าซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ทำให้รัฐได้ผลประโยชน์จากการเป็นพ่อค้าคนกลางในการแสวงหาผลประโยชน์ดังกล่าว  ความสำคัญของการค้าทำให้รัฐได้ส่งเสริมการค้าด้วยวิธีการต่างๆ ตลอดจนออกกฎหมายควบคุมการค้า  เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวดำเนินไปได้ด้วยดี  อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาครัฐจะสนับสนุนการค้า แต่ประชากรทั่วไปก็ไม่ได้รับผลประโยชน์มากนักเนื่องจากยังคงค้าขายที่เน้น การแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ตนเองต้องการมากกว่าจะแสวงหากำไร และผลประโยชน์โดยตรง ดังนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์จากการค้าจึงจำกัดอยู่เฉพาะขุนนาง เจ้านาย ตลอดจนชาวต่างชาติ ผู้ที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าว

             3.2  การค้าขายระหว่างประเทศ อยุธยานับว่ามีชัยภูมิเหมาะสมกับการค้าระหว่างประเทศเนื่องจากเป็นเมืองท่า ที่อยู่กึ่งกลางเส้นทางการเดินเรือค้าขายระหว่างประเทศจีนกับประเทศอินเดีย ประกอบกับความเข้มแข็งของอำนาจทางการเมืองทำให้อยุธยาไม่มีคู่แข่งการค้าและ ยังเป็นศูนย์รวมของสินค้าจากเมืองท่าต่างๆ  ที่อยู่ใต้อิทธิพลทางการเมืองของอยุธยาด้วยปัจจัยดังกล่าวทำให้อยุธยา กลายเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างจีนกับอินเดีย

          สำหรับการค้าขายกับอยุธยากับประเทศในแถบเอเชีย  อยุธยาจะค้าขายกับจีน และอินเดียเป็นหลัก  นอกจากนั้นก็ค้าขายกับชาวอาหรับ  เปอร์เซีย  ส่วนการค้ากับต่างชาติตะวันตกนั้นโปรตุเกส  เป็นชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่ 21 ต่อจากนั้นก็ชาติอื่นๆ เช่น สเปน  ฮอลันดา  อังกฤษ  และฝรั่งเศส  เดินทางเข้ามาค้าขายซึ่งรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ปราสาททอง  แต่เมื่อถึงรัชสมัยของราชวงศ์บ้านพลูหลวง  การค้ากับชาติตะวันตกก็ซบเซาลง

           การดำเนินกิจกรรมค้าขายกับต่างชาตินั้น รัฐจะเป็นผู้จัดการโดยหน่วยงาน “พระคลังสินค้า”  ซึ่งมีกรมท่าซ้ายดูแลรับผิดชอบการค้ากับอินเดีย และชาติอาหรับ เปอร์เซีย ส่วนกรมท่าขวาดูแลค้าขายกับจีน  และกรมท่ากลางค้าขายกับชาติตะวันตก หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการค้าขายโดยการผูกขาดสินค้า คือ สินค้าบางอย่าง เช่น อาวุธ และสินค้าที่รัฐเห็นว่าจะขายต่อได้กำไรรัฐจะผูกขาดซื้อไว้ ส่วนสินค้าออก เช่น  ข้าว และของป่า รัฐจะกำหนดให้เป็นสินค้าต้องห้ามต้องซื้อผ่านรัฐเท่านั้น  การที่รัฐดำเนินธุรกิจแบบผูกขาดสินค้าและยังเรียกเก็บภาษี การค้าจากเรือของชาวต่างชาติ ทำให้รัฐบาลได้ผลประโยชน์อย่างมหาศาลจากกิจกรรมดังกล่าว  (อดิสร  ศักดิ์สูง. 2546 :  67  อ้างจาก ศุภรัตน์  เลิศพาณิชย์กุล  2532 : 297 – 301) จะเห็นได้ว่าการค้าส่งผลให้อยุธยามีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจเกิดการขยาย ตัวของชุมชน การแลกเปลี่ยนสินค้า  การพัฒนาทางด้านสังคม นำไปสู่ความมั่นคงเข้มแข็งของอาณาจักรอยุธยา

เศรษฐกิจสมัยอยุธยา

          ความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง  การมีแหล่งน้ำจำนวนมาก  ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพราะเกิดจากการทับถมของดินตะกอนแม่น้ำ  ซึ่งเหมาะสำหรับการทำนา  ทำให้อาณาจักรอยุธยาเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ  นอกจากนี้การมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมกับการค้าขายกับเมืองต่างๆ ที่อยู่ภายในตามเส้นทางแม่น้ำ และการค้าขายกับภายนอกทางเรือสำเภา  ทำให้เศรษฐกิจอยุธยามีพื้นฐานสำคัญอยู่ที่การเกษตรและการค้ากับต่างประเทศ ต่อมาได้พัฒนาเป็นศูนย์กลางทางการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

          1.  เศรษฐกิจในสมัยอยุธยาเป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพที่ขึ้นอยู่กับเกษตรกรรมเช่น เดียวกับสุโขทัย พื้นฐานทางเศรษฐกิจของอยุธยาคือการเกษตร มีวัตถุประสงค์ในการผลิตเพื่อบริโภคภายในอาณาจักรตามลักษณะเศรษฐกิจแบบพอยัง ชีพ  แต่อาณาจักรอยุธยาได้เปรียบกว่าอาณาจักรสุโขทัยในด้านภูมิศาสตร์  เพราะอาณาจักรอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำอันกว้างใหญ่  แม่น้ำสำคัญคือ  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำป่าสัก  แม่น้ำลพบุรี  ซึ่งมีน้ำตลอดปีสำหรับการเพาะปลูก  พืชที่สำคัญคือ  ข้าว  รองลงมาได้แก่  พริกไทย  หมาก  มะพร้าว  อ้อย  ฝ้าย  ไม้ผลและพืชไร่อื่นๆ  ลักษณะการผลิตยังใช้แรงงานคนและแรงงานสัตว์เป็นหลัก  ด้วยเหตุดังกล่าว  อาณาจักรอยุธยาจึงได้ทำสงครามกับรัฐใกล้เคียงเพื่อครอบครองแหล่งทรัพยากร และกวาดต้อนผู้คนเพื่อนำมาเป็นแรงงานสำคัญของบ้านเมือง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก


          ในสมัยอยุธยาชาวตะวันตกจากทวีปยุโรปได้เข้ามามีความสัมพันธ์กับอยุธยาหลาย ชาติ การดำเนินการในด้านความสัมพันธ์ของอยุธยามีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ สร้างสัมพันธไมตรี รับวิทยาการ เช่นการแพทย์ การศึกษา ก่อสร้าง บุคลากร รักษาเอกราชอาณาจักร โดยระบบคานอำนาจในหมู่ชาวตะวันตกด้วยกัน


                โปรตุเกส

          เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2054 เนื่องจากโปรตุเกสยึดครองหัวเมืองมะละกาได้เมื่อรู้ว่าเคยเป็นของอยุธยามา ก่อนจึงได้ส่ง ทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี โดยไทยอำนวยความสะดวกในการค้าและเผยแผ่ศาสนาและโปรตุเกสรับจัดหาปืนและ กระสุนดินดำให้ฝ่าย อยุธยาความสัมพันธ์เริ่มเสื่อมเมื่อฮอลันดามาค้ากับอยุธยาจึงก่อความวุ่นวาย และถูกปราบปรามสมัยพระเจ้าปราสาททอง ความสัมพันธ์จึงเสื่อมลง

                ฮอลันดา

        ได้เดินเรือมาติดต่อค้าขายในแถบเอเชียและมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆและกลายเป็น คู่แข่งกับโปรตุเกสในปี 2147 สมัยสมเด็จพระนเรศวรบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาได้เข้ามาแทนที่ โปรตุเกสที่เสื่อมอำนาจไป จุดประสงค์เพื่อการค้าอย่างเดียวอยุธยาในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถได้ส่งทูตไทย 16 คน เพื่อไปดูงานด้านต่อเรือเป็นครั้งแรกของไทยเหตุนี้เองทำให้ฮอลันดาได้สิทธิ พิเศษทางการค้าในการซื้อหนังสัตว์ ผู้เดียวทำให้อังกฤษและโปรตุเกสไม่พอใจ ตอนหลังปลายสมัยพระนารายณ์การค้ากับฮอลันดา
เสื่อมลงเนื่อง จากไม่พอใจระบบผูกขาดสินค้าของไทย

สเปน

        ได้เข้ามาติดต่อสมัยพระนเรศวรพระองค์ทรงมอบช้าง 2 เชือกเป็นบรรณาการ แก่ผู้สำเร็จราชการสเปนที่มะนิลา ฟิลิปปินส์ ต่อมาเปลี่ยนผู้สำเร็จราชการคนใหม่สเปนจึงส่งราชสาสน์มาขอทำการค้ากับอยุธยา แต่การค้าไม่รุ่งเรืองเหมือนชาติอื่นๆ เนื่องจากสเปนมุ่งที่จะเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเขมรและค้าขายกับเขมรมากกว่าไทย และเรื่อสำเภาไทยที่ไปค้าที่ฟิลิปปินส์ได้รับความเดือดร้อน จากการกระทำของสเปนพ่อค้าไทยจึงเลิกค้าขายกับสเปน

              อังกฤษ

        ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ได้ส่งพระราชสาส์นมากับพ่อค้า ถึงสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเพื่อติดต่อค้าขายโดยให้อยุธยาเป็นศูนย์การค้าเพื่อ ไปค้ากับจีนและญี่ปุ่น การค้าไม่ค่อยราบรื่นเพราะมีคู่แข่งสำคัญอย่างโปรตุเกส และฮอลันดาทำให้อังกฤษถอนสถานีการค้าที่อยุธยาออกไป มารื้อฟื้นขึ้นใหม่ในสมัยพระนารายณ์ โดยพระองค์ต้องการให้อังกฤษถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดาแต่ไม่สำเร็จ แถมมีปัญหากันเรื่องการค้าความสัมพันธ์จึงปิดฉากลงตั้งแต่นั้นมา

              ฝรั่งเศส

           เป็นชาติสุดท้ายที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยา คณะแรกที่เข้ามาเป็นบาทหลวงในปี พ.ศ. 2205 เนื่องจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ให้เสรีภาพด้านศาสนา จึงทำให้ในปี 2216 สังฆราชแห่งฝรั่งเศสได้นำสาส์นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มาถวายพระนารายณ์ โดยความช่วยเหลือ  ออกญาวิชาเยนทร์หรือ( คอนสแตนตินฟอลคอน) ชาวกรีกที่มารับราชการในอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์จึงส่งคณะทูตไปฝรั่งเศสอีก 2 ชุด

          ใน พ.ศ. 2223 และ พ.ศ. 2227 แต่ชุดแรกเรือล่มก่อน ส่วนชุด 2 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และคณะทูต จากฝรั่งเศสก็ติดตามมาด้วยคือ  เชอ วาริเอร์ เดอโชมองต์ โดยคณะทูตชุดนี้ได้มีจุดหมายเพื่อสร้างสัมพันธ์ ทางการค้า และโน้มน้าวให้สมเด็จพระนารายณ์เข้ารีตนับถือคริสต์

         ปี พ.ศ. 2228 คณะทูตฝรี่งเศส เดินทางกลับพร้อมคณะทูตไทย คือออกพระวิสุทธสุนทร หรือ (ปาน) ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสมาถึงจุดสุดท้ายช่วงปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ออกญาวิไชเยนทร์ วางแผนร่วมกับชาวฝรั่งเศสเพื่อยึดครองอยุธยา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะถูกกวาดล้างเสียก่อน โดยขุนนางไทย คือ พระเพทราชาและพรรคพวกทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศสสิ้นสุดลง

            สรุป

        ความสัมพันธ์กับชาวตะวันตกส่วนใหญ่จะเป็นทางด้านการค้าเป็นหลักช่วยสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจแก่อยุธยาอย่างมากแต่มีบางประเทศที่เข้ามาติดต่อโดย มีศาสนาเป็นเรื่องบังหน้ามีเรื่องการเมืองแอบแฝง เช่น ฝรั่งเศส เป็นต้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆในทวีปเอเชีย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆในทวีปเอเชีย


          ในสมัยกรุงศรีอยุธยานอกจากจะมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง แล้วกรุงศรีอยุธยายังมีความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียหลายประเทศโดยมีประเทศสำคัญได้แก่

จีน
        มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับอาณาจักรอยุธยา เริ่มตั้งแต่ พระเจ้าหงหวู่หรือหงอู่ (หรือจูหยวงจาง) ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หมิงขึ้นปกครองจีนได้ทรงส่งทูตไปยัง อาณาจักรต่างๆ รวมทั้งกรุงศรีอยุธยาด้วยโดยในพ.ศ.1913ได้ทรงส่งราชทูตอัญเชิญพระบรมราช โองการมายัง กรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1(ขุนหลวงพะงั่ว) ในปีต่อมา คือพ.ศ. 1914

         ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะราชฑูตไทยได้อัญเชิญพระราชสาสน์และบรรณาการไป ถวาย ซึ่งนับได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ทางการฑูตครั้งแรก ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับจีน หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนเป็นไปด้วยความราบรื่นปรากฏว่าไทย ได้ส่งทูตไปเมืองจีนเป็นประจำทุกปีและบางปีมากกว่าหนึ่งครั้งคือ ระหว่าง 1914 - 2054 ทางอยุธยาส่งทูตไปเมืองจีนถึง 89 ครั้งเป็นต้น อยุธยาค่อนข้างให้ความสำคัญกับประเทศจีนมาก ความสัมพันธ์กับจีนเป็นรูปแบบรัฐบรรณาการ อยุธยาต้องการตลาดสินค้าใหญ่อย่างจีน และไม่ต้องเสียภาษีขาเข้าเพียงแต่ยอมอ่อนน้อมกับจีนซึ่ง จีนถือตัวเองเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลใครมายอมอ่อนน้อมจะได้รับการคุ้มครอง และได้ผลประโยชน์กลับบ้านมากกว่าที่อยุธยาส่งบรรณาการไปถวายเสียอีกสินค้า ที่เราส่งไปจีนการที่ไทยได้ส่งคณะฑูตบรรณาการไปจีนบ่อยครั้งนั้นผลที่ได้ คือเราได้สิทธิพิเศษทางการค้ากับจีนเพราะคณะฑูตนั้นจะนำสินค้าจากอยุธยามา ขายที่จีนด้วยและตอนขากลับก็จะนำสินค้าจากจีน ไปขายที่อยุธยา ด้วย ในการติดต่อค้าขายระหว่างอยุธยากับจีนนั้นต่างก็มีความต้องการสินค้าของกัน และกันสินค้าที่ไทย ต้องการจากจีน ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าแพร เครื่องกระเบื้อง เป็นต้น ส่วนสินค้าที่จีนต้องการจากไทย เช่น เครื่องเทศ รังนก ข้าวพริกไทย

           ต่อมาชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยามีสินค้าบางอย่างที่จีน ซื้อสินค้าของชาติตะวันตกจากอยุธยาไปด้วย เช่นเครื่องแก้ว เครื่องหอม พรม เป็นต้น


ญี่ปุ่น
          ชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนและเข้ามาทำมาหากินอยู่ในกรุงศรีอยุธยามา ตั้งแต่ พ.ศ.2083 ซึ่งตรงกับปลายรัชกาลของสมเด็จพระไชยราชาธิราช และชาวญี่ปุ่นได้อาสาสมัครในครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกองทัพไปรบกับพม่า ในสงครามยุทธหัตถีใน พ.ศ.2135ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเริ่มอย่าง เป็นทางการในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ( พ.ศ.2148 -2153 ) กับโชกุนโตกุงาวะ  อิเอยาสุ ใน พ.ศ.2149 ญี่ปุ่นได้ส่งสาสน์มาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับสมเด็จพระเอกาทศรถพร้อมด้วยดาบ เสื้อเกราะเป็นเครื่องราชบรรณาการ และในขณะเดียว กันได้ทูลขอปืนใหญ่และไม้หอมจากไทย สมเด็จพระเอกาทศรถจึง ส่งสาสน์ตอบไปญี่ปุ่นเป็นการตอบแทน ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
           ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เจริญสูงสุดในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.2153 - 2171 ) เพราะในสมัยนี้ทางการกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ ญี่ปุ่นถึง 4 ครั้งคือใน พ.ศ.2159 , 2164 ,  2166 , 2168
           ส่วนความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นซึ่งนับว่ามีความสำคัญมากนั้น โดยที่ญี่ปุ่นต้องการสินค้าจากไทย คือ ข้าว ดีบุก น้ำตาล ไม้ หนังกวาง สินค้าที่ไทยต้องการจากญี่ปุ่น คือ ทองแดง เงินเหรียญ ของญี่ปุ่น ฉากลับแล เป็นต้น

            ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยานอกจากเป็นทหารอาสาแล้วมี ชาวญี่ปุ่นบางคนเข้ารับราชการในอยุธยาในตำแหน่งที่สูงคือ ยามาดา นางามาซา ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นหลังจากสิ้นสุดสมัยพระเจ้าทรงธรรม แล้วเริ่มเสื่อมลง เช่นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองส่งคณะฑูตไปญี่ปุ่น 5 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการต้อนรับ จากญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว และปิดประเทศตั้งแต่ พ.ศ.2182 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นสิ้นสุดลง

อิหร่าน

          ชาวอิหร่านหรือชาวอาหรับได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาและเข้ารับราชการใน ราชสำนักไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เช่นเฉกอะหมัด หรือต่อมาเป็นต้นตระกูลบุนนาค ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับอิหร่านนั้นไทยได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี กับอยุธยาแต่ไม่ค่อยราบรื่นนักเพราะถูกออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนตินฟอลคอน) กีดกันลังกา ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับลังกาเพราะทางลังกาได้ส่งทูตมาขอพระ สงฆ์จากไทยเพื่อไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในลังกาสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทางลังกาจึงเรียกพระสงฆ์ที่ไปปฏิบัติ พระธรรมที่ลังกาว่าลัทธิสยามวงศ์

สรุป

            ความสัมพันธ์กับชาติในเอเชียส่วนใหญ่เป็นเรื่องการค้าเพื่อสร้างความ มั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นหลักโดยเฉพาะการค้ากับ จีนทำให้อยุธยาได้ประโยชน์มากมายจากรูปแบบความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการ ส่วนกับญี่ปุ่นก็เช่นกัน จนมีชาวญี่ปุ่นเข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา คือ ยามาดาได้รับพระราชทานยศเป็น(ออกญาเสนาภิมุข)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 ความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 ความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง


      สุโขทัย ล้านนา (เชียงใหม่) มอญ พม่า ล้านช้าง (ลาว) เขมร และมลายูความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย  ซึ่งถูกรวมเป็นอันเดียวกับอยุธยาตั้งแต่ ปี 2006 เป็นต้นมาโดยตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองก่อตั้งอยุธยาก็ดำเนินนโยบายแผ่ขยาย อำนาจเข้าสู่สุโขทัย  โดยเข้ายึดเมืองพิษณุโลกซึ่งเป็นของสุโขทัยไว้ พระมหาธรรมราชาที่ 1 แห่งสุโขทัยได้ส่งเครื่องบรรณาการมาทูลขอคืนจึงคืนให้และเท่ากับว่า สุโขทัยได้ยอมอยู่ใต้อำนาจอยุธยาตั้งแต่นั้นมาก และสมัยพระอินทราชาได้ทูลขอธิดา พระมหาธรรมราชาที่ 2 ให้สมรสกับเจ้าสามพระยา (พระโอรส)   ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็น การสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างสองอาณาจักรด้วยความสัมพันธ์กับสุโขทัย สิ้นสุดลงเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ไปประทับที่พิษณุโลก สุโขทัยก็ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาโดยสิ้นเชิง

ความสัมพันธ์กับล้านนา (เชียงใหม่)

           หลังจากที่ได้สุโขทัยไว้ในครอบครองแล้ว อยุธยาก็รุกต่อขึ้นเหนือหวังยึดครองล้านนา แต่ยกไปตีหลาย ครั้งไม่สำเร็จ ระยะหลังเกิดสงครามเพราะสุโขทัยไปยอมอ่อนน้อมต่อล้านนา ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ของ ล้านนา เพื่อหวังให้ล้านนาช่วยรบกับอยุธยา แต่ในที่สุดสมัยพระไชยราชาธิราชล้านนาก็ตกเป็นของอยุธยา

ความสัมพันธ์กับมอญ

           อาณาจักรมอญส่วนใหญ่จะเป็นรัฐกันชนระหว่างพม่ากับอยุธยา ส่วนใหญ่พม่าจะยึดครองมากกว่าไทยเหตุผลของความสัมพันธ์ กับมอญเพราะอยุธยาต้องการครอบครองหัวเมืองชายฝั่งที่เป็นเมืองท่าเพื่อ ติดต่อค้าขายกับต่างชาติ เช่น เมือง ทวาย มะริด และตะนาวศรี เป็นต้นมอญเคยตกเป็นของไทยสมัยพระนเรศวร เท่านั้น นอกนั้น ตกเป็นของพม่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2081 เป็นต้นมา

ความสัมพันธ์กับพม่า

           ความสัมพันธ์ไทยกับพม่าสมัยอยุธยาเป็นไปในรูปของสงครามโดยตลอดเพื่อแย่งชิง การปกครองเมือง ประเทศราช ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจ เป็นไปเพื่อแย่งชิงเมืองท่าในเขต อ่าวเบงกอล ของมอญด้วยสาเหตุที่พม่ามีแผ่นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงต้องขยายอาณาเขตออกมาทางมอญ และล้านนา ซึ่งมีพรมแดน ติดอยุธยา ดังนั้นมอญจึงเป็นรัฐกันชน เมื่อพม่าได้มอญกับล้านนาแล้วก็มักแผ่อำนาจมายังอยุธยาเสมอ

ความสัมพันธ์กับล้านช้าง (ลาว) ล้านช้า

          เป็นมิตรที่แสนดีกับไทยสมัยอยุธยามาตลอดแม้เวลาเราติดศึกพม่าก็ส่งทัพมาช่วย รบมีความสัมพันธ์ ทางเครือญาติเช่นสมัยพระเจ้าอู่ทองได้พระราชทานพระแก้วฟ้า แก่พระเจ้าสามแสนไทย สมัยสมเด็จ พระจักรพรรดิก็ได้ร่วมกันสร้างอนุสรณ์ความร่วมมือที่ดีต่อกัน คือพระธาตุศรีสองรักที่จังหวัดเลย และ พระราชทานธิดาพระนางเทพกษัตรีแก่พระเจ้าไชยเชษฐาแต่ถูกพม่าชิงตัวไปก่อน

ความสัมพันธ์กับเขมร

         เป็นไปในลักษณะการรับวัฒนธรรมประเพณี เช่นการปกครองรูปแบบสมมุติเทพ และวัฒนธรรมประเพณี ในฐานะเป็นเมืองประเทศราชของไทย บางครั้งเขมรก็แยกเป็นอิสระหรือไปหันไปพึ่งญวณและมักมาโจมตี ไทยเวลาอยุธยามีศึกกับพม่าสมัยเจ้าสามพระยาของอยุธยาทรงยกทัพไปยึดพระนครของ เขมร เขมรต้องย้าย เมืองหลวงไปอยู่ป่าสานและพนมเปญปัจจุบัน ความสัมพันธ์ของเขมรกับไทยมีทั้งด้านการเมืองและศิลปวัฒนธรรมในด้านการเมือง

 ความสัมพันธ์กับมลายู

           จะเป็นไปในรูปของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพราะช่องแคบมะละกาเป็นทางผ่านที่จะ ไปสู่อินเดียและจีน อยุธยาจึงต้องการครอบครอง จึงขยายอำนาจทางทหารไปครอบครอง โดยปรากฏหลักฐานว่าอยุธยายกทัพ ไปโจมตีหลายครั้ง จนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2054 โปรตุเกสยึดมะละกาได้ ส่วนหัวเมืองมลายูอื่นๆ ยังเป็นของอยุธยา จนถึงปี พ.ศ.2310 อยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2

 สรุป

           ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการขยายเขตแดนและเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้า

           ดังนั้นจึงไม่พ้นการทำสงคราม โดยเฉพาะกับพม่าซึ่งเรามักเป็น ฝ่ายตั้งรับมากกว่าการยกทัพไปรุกราน อยุธยาต้องเสียกรุงแก่พม่าถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2112 สมัยพระมหินทราธิราช ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 สมัยพระเจ้าเอกทัศน์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 ปัจจัยที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอาณาจักรอยุธยา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 ปัจจัยที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอาณาจักรอยุธยา

ปัจจัยที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอาณาจักรอยุธยา

             อยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความได้เปรียบทางสภาพภูมิศาสตร์ คือตั้งอยู่ที่บริเวณแม่น้ำ
   3 สาย  มาบรรจบกัน มีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ทำให้อยุธยามีสภาพเป็นเกาะมีแม่น้ำล้อมรอบ
             ถนนรอบเกาะยาวประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเพาะปลูกข้าวและยังอยู่ใกล้ทะเลพอสมควร ทำให้สามารถทำการค้าต่างประเทศได้โดยสะดวก

หน่วยการเรียนรู้ที่9 การสิ้นสุดอาณาจักรอยุธยา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 การสิ้นสุดอาณาจักรอยุธยา
     อยุธยาซึ่งดำรงความเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ มีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 1893 และได้ถึงวาระสิ้นสุด
อันเนื่องมาจากพ่ายแพ้ต่อสงครามกับพม่าใน พ.ศ. 2310 อันมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ
    1. ปัญหาภายในราชอาณาจักร ขุนนางมีการแบ่งพรรคพวกและแย่งชิงอำนาจกันตลอดเกือบทุกรัชกาล ปัญหาใหญ่
คือ การแย่งชิงราชสมบัติระหว่างวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรกับผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อมานั่นเอง
การดำรงตำแหน่งวังหน้าเป็นเวลานานตั้งแต่ต้นรัชกาลนั้น ทำให้สามารถสะสมอำนาจได้อย่างดี จึงมีผู้คนเป็นจำนวนมากให้การสนับสนุน
วังหน้าแย่งชิงอำนาจกับวังหลวง ถือเป็นความอ่อนแอของราชวงศ์
   2. ปัญหาจากภายนอก พม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่อยุธยาต้องทำสงครามกันมาตลอด โดยเริ่มตั้งแต่ในสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้
แห่งราชวงศ์ตองอู ที่มีกำลังทางทหารเข้มแข็งได้ขยายอำนาจ จนสามารถผนวกอาณาจักรล้านนาและมอญเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่า
และการย้ายเมืองหลวงมายังหงสาวดี ทำให้อาณาเขตของพม่าอยู่ติดกับอาณาจักรอยุธยาและทำให้อยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่า
เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2112
ในสมัยอยุธยาตอนปลายกษัตริย์พม่าราชวงศ์อลองพญาหรือราชวงศ์คองบองได้เข้ามารุกราดินแดนไทย
อันเป็นสงครามต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2303 เมื่อพระเจ้าอลองพญายกทัพเข้ามายึดมะริดและตะนาวศรี
ในครั้งนั้นพระเจ้าอลองพญาทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตระหว่างทางเสียก่อน ในปี พ.ศ. 2307 พระเจ้ามังระ
พระโอรสของพระเจ้าอลองพญา จึงยกทัพเข้ามาโจมตีอาณาจักรอยุธยาอีกครั้ง เริ่มจากเข้ายึดทวาย  มะริด
และตะนาวศรีก่อน จากนั้นยกทัพเข้ามาตีเมืองตามรายทางที่กองทัพผ่าน คือ เชียงใหม่  ลำพูน  และหัวเมืองฝ่ายเหนือของอาณาจักรอยุธยา
เมื่อ พ.ศ. 2309 พม่าก็ยกทัพเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา และด้วยปัญหาภายในที่มีอยู่คือความแตกแยกของขุนนาง
ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกำลังไพร่พล นำมาซึ่งความไม่พร้อมในการรบ ทำให้อยุธยาพ่ายแพ้ต่อสงครามกับพม่าใน พ.ศ. 2310

หน่วยการเรียนรู้ที่7

ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆในทวีปเอเชีย

          ในสมัยกรุงศรีอยุธยานอกจากจะมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงแล้วกรุงศรีอยุธยายังมีความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียหลายประเทศโดยมีประเทศสำคัญได้แก่

จีน 

          มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับอาณาจักรอยุธยา เริ่มตั้งแต่ พระเจ้าหงหวู่หรือหงอู่ (หรือจูหยวงจาง) ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หมิงขึ้นปกครองจีนได้ทรงส่งทูตไปยังอาณาจักรต่างๆ รวมทั้งกรุงศรีอยุธยาด้วยโดยในพ.ศ.1913ได้ทรงส่งราชทูตอัญเชิญพระบรมราชโองการมายัง กรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1(ขุนหลวงพะงั่ว) ในปีต่อมา คือพ.ศ. 1914

         ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะราชฑูตไทยได้อัญเชิญพระราชสาสน์และบรรณาการไปถวาย ซึ่งนับได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ทางการฑูตครั้งแรก ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับจีน หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนเป็นไปด้วยความราบรื่นปรากฏว่าไทยได้ส่งทูตไปเมืองจีนเป็นประจำทุกปีและบางปีมากกว่าหนึ่งครั้งคือ ระหว่าง 1914 - 2054 ทางอยุธยาส่งทูตไปเมืองจีนถึง 89 ครั้งเป็นต้น อยุธยาค่อนข้างให้ความสำคัญกับประเทศจีนมาก ความสัมพันธ์กับจีนเป็นรูปแบบรัฐบรรณาการ อยุธยาต้องการตลาดสินค้าใหญ่อย่างจีน และไม่ต้องเสียภาษีขาเข้าเพียงแต่ยอมอ่อนน้อมกับจีนซึ่ง จีนถือตัวเองเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลใครมายอมอ่อนน้อมจะได้รับการคุ้มครอง และได้ผลประโยชน์กลับบ้านมากกว่าที่อยุธยาส่งบรรณาการไปถวายเสียอีกสินค้าที่เราส่งไปจีนการที่ไทยได้ส่งคณะฑูตบรรณาการไปจีนบ่อยครั้งนั้นผลที่ได้ คือเราได้สิทธิพิเศษทางการค้ากับจีนเพราะคณะฑูตนั้นจะนำสินค้าจากอยุธยามาขายที่จีนด้วยและตอนขากลับก็จะนำสินค้าจากจีน ไปขายที่อยุธยา ด้วย ในการติดต่อค้าขายระหว่างอยุธยากับจีนนั้นต่างก็มีความต้องการสินค้าของกันและกันสินค้าที่ไทย ต้องการจากจีน ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าแพร เครื่องกระเบื้อง เป็นต้น ส่วนสินค้าที่จีนต้องการจากไทย เช่น เครื่องเทศ รังนก ข้าวพริกไทย

           ต่อมาชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยามีสินค้าบางอย่างที่จีน ซื้อสินค้าของชาติตะวันตกจากอยุธยาไปด้วย เช่นเครื่องแก้ว เครื่องหอม พรม เป็นต้น


ญี่ปุ่น 
          ชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนและเข้ามาทำมาหากินอยู่ในกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่ พ.ศ.2083 ซึ่งตรงกับปลายรัชกาลของสมเด็จพระไชยราชาธิราช และชาวญี่ปุ่นได้อาสาสมัครในครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกองทัพไปรบกับพม่าในสงครามยุทธหัตถีใน พ.ศ.2135ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเริ่มอย่าง เป็นทางการในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ( พ.ศ.2148 -2153 ) กับโชกุนโตกุงาวะ  อิเอยาสุ ใน พ.ศ.2149 ญี่ปุ่นได้ส่งสาสน์มาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับสมเด็จพระเอกาทศรถพร้อมด้วยดาบ เสื้อเกราะเป็นเครื่องราชบรรณาการ และในขณะเดียว กันได้ทูลขอปืนใหญ่และไม้หอมจากไทย สมเด็จพระเอกาทศรถจึง ส่งสาสน์ตอบไปญี่ปุ่นเป็นการตอบแทน ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
           ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เจริญสูงสุดในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.2153 - 2171 ) เพราะในสมัยนี้ทางการกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่นถึง 4 ครั้งคือใน พ.ศ.2159 , 2164 ,  2166 , 2168
           ส่วนความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นซึ่งนับว่ามีความสำคัญมากนั้น โดยที่ญี่ปุ่นต้องการสินค้าจากไทย คือ ข้าว ดีบุก น้ำตาล ไม้ หนังกวาง สินค้าที่ไทยต้องการจากญี่ปุ่น คือทองแดง เงินเหรียญ ของญี่ปุ่น ฉากลับแล เป็นต้น

            ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยานอกจากเป็นทหารอาสาแล้วมี ชาวญี่ปุ่นบางคนเข้ารับราชการในอยุธยาในตำแหน่งที่สูงคือ ยามาดา นางามาซา ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นหลังจากสิ้นสุดสมัยพระเจ้าทรงธรรม แล้วเริ่มเสื่อมลง เช่นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองส่งคณะฑูตไปญี่ปุ่น 5 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการต้อนรับ จากญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว และปิดประเทศตั้งแต่ พ.ศ.2182 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นสิ้นสุดลง

อิหร่าน 

          ชาวอิหร่านหรือชาวอาหรับได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาและเข้ารับราชการในราชสำนักไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เช่นเฉกอะหมัด หรือต่อมาเป็นต้นตระกูลบุนนาค ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับอิหร่านนั้นไทยได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยาแต่ไม่ค่อยราบรื่นนักเพราะถูกออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนตินฟอลคอน) กีดกันลังกา ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับลังกาเพราะทางลังกาได้ส่งทูตมาขอพระสงฆ์จากไทยเพื่อไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในลังกาสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทางลังกาจึงเรียกพระสงฆ์ที่ไปปฏิบัติพระธรรมที่ลังกาว่าลัทธิสยามวงศ์   

สรุป

            ความสัมพันธ์กับชาติในเอเชียส่วนใหญ่เป็นเรื่องการค้าเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นหลักโดยเฉพาะการค้ากับ จีนทำให้อยุธยาได้ประโยชน์มากมายจากรูปแบบความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการ ส่วนกับญี่ปุ่นก็เช่นกัน จนมีชาวญี่ปุ่นเข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา คือ ยามาดาได้รับพระราชทานยศเป็น(ออกญาเสนาภิมุข)

หน่อยการเรียนรู้ที่6

สังคมสมัยอยุธยา

สภาพสังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา


  • สังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา แม้ว่าจะต่อเนื่องมาจากสังคมสมัยสุโขทัย แต่ก็ได้มีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปจากสังคมสมัยสุโขทัยหลายด้าน ทั้งนี้ก็เพราะว่าสถาบันสูงสุดของการปกครองได้เปลี่ยนฐานะไป นั่นคือ พระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนฐานะจากมนุษยราช
  • ในสมัยสุโขทัยเป็นเทวธิราชขึ้นในสมัยอยุธยา เปลี่ยนจากฐานะความเป็น "พ่อขุน" มาเป็น "เจ้าชีวิต" ของประชาชนซึ่งเป็นผลให้ระบบและสถาบันทางการปกครองต่างๆ แตกต่างไปจากสังคมไทยสมัยสุโขทัยด้วยชนชั้นของสังคมสมัยอยุธยา
  • สังคมอยุธยา เป็นสังคมที่เต็มไปด้วยชนชั้น นับตั้งแต่การแบ่งแยกชนชั้นอย่างเด็ดขาด ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์ ก็มีอันดับสูงต่ำลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ในหมู่ราษฎร ก็มีการแบ่งชนชั้นกันเป็นชนชั้นผู้ดีกับชนชั้นไพร่ ในหมู่ข้าราชการก็มีศักดินาเป็นตัวกำหนดความสูงต่ำของข้าราชการในชนชั้นต่างๆ ซึ่งชนชั้นต่างๆ เหล่านี้ จะก่อให้เกิดมีสิทธิในสังคมอยุธยาขึ้นแตกต่างกันด้วย
  • ชนชั้นสูงสุดในสมัยอยุธยาคือพระบรมวงศานุวงศ์ ส่วนข้าราชการหรือขุนนางนั้น ก็แบ่งเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันไปตามลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมกับตำแหน่งหน้าที่แล้ว ราชการสมัยอยุธยายังมีศักดินาซึ่งมากน้อยตามตำแหน่งหน้าที่ ระบบศักดินานี้เป็นระบอบของสังคมอยุธยาโดยแท้ เพราะศักดินานั้น ทกคนต้องมีตั้งแต่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ พระบรมวงศานุวงศ์ลงไปจนถึงข้าราชการชั้นผู้น้อย และประชาชนธรรมดา จำนวนลดหลั่นลงไป
  • นอกจากจะแบ่งตามหน้าที่ตำแหน่งและความรับผิดชอบแล้ว ชนชั้นในสังคมอยุธยา ยังแบ่งออกกว้างๆ เป็นสองชนชั้นอีก คือ ผู้มีศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป เรียกว่าชนชั้นผู้ดี ส่วนที่ต่ำลงมาเรียกว่า ไพร่ แต่ไพร่ก็อาจเป็นผู้ดีได้ เมื่อได้ทำความดีความชอบเพิ่มศักดินาของตนขึ้นไปถึง 400 แล้ว และผู้ดีก็อาจตกลงมาเป็นไพร่ได้หากถูกลดศักดินาลงมาจนต่ำกว่า 400 การเพิ่มการลดศักดินา
  • ในสมัยอยุธยาก็อาจทำกันง่ายๆ หากได้ทำความดีความชอบหรือความผิด การแบ่งคนออกเป็นชนชั้นไพร่ และชนชั้นผู้ดีเช่นนี้ ทำให้สิทธิของคนในสังคมแต่ละชั้นต่างกัน สิทธิพิเศษต่างๆ ตกไปเป็นของชนชั้นผู้ดีตามลำดับแห่งความมากน้อยของศักดินา เช่นผู้ดีเองและคนในครอบครัวได้รับยกเว้นไม่ถูกเกณฑ์ไปใช้งานราชการ ในฐานะที่เรียกกันว่า แลก เมื่อเกิดเรื่องศาล ผู้ดีก็ไม่ต้องไปศาล เว้นแต่ผิดอาญาแผ่นดิน เป็นขบถ ธรรมดาผู้ดีจะส่งคนไปแทนตนในโรงศาล มีทนายไว้ใช้เป็นการส่วนตัว นอกจากนั้น ก็ยังมีสิทธิเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทได้ในขณะที่เสด็จออก ขุนนาง เมื่อมีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ ผู้ดีที่มีศักดินาสูงๆ จะต้องคุมคนไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อรับราชการทัพได้ในทันที
  • เมื่อพระมหากษัตริย์เรียก เช่น ผู้มีศักดินา 10,000 และมีหน้าที่บังคับบัญชากรมกอง ซึ่งมีไพร่หลวงสังกัดอยู่ ก็ต้องรับผิดชอบกะเกณฑ์คนแข็งแรงและมีประสิทธิภาพด้วย


สังคมอยุธยา


  • สังคมอยุธยานั้น กฎหมายกำหนดให้ทุกคนต้องมีนาย ตามกฎหมาย ลักษณะรับฟ้องมาตรา 10 กล่าวว่า "ราษฎรรับฟ้องร้องด้วยคดีประการใดๆ แลมิได้สังกัดมูลนายอย่าพึงรับไว้บังคับบัญชาเป็นอันขาดทีเดียว ให้ส่งตัวผู้นั้นแก่สัสดี เอาเป็นคนหลวง" จะเห็นว่า ไพร่ทุกคนของสังคมอยุธยาต้องมีสังกัดมูลนายของตน ผู้ไม่มีนายสังกัดกฎหมายไม่รับผิดชอบในการพิทักษ์รักษาชีวิตและทรัพย์สิน ไพร่จะต้องรับใช้ชาติในยามสงคราม จึงต้องมีสังกัดเพื่อจะเรียกใช้สะดวก เพราะในสมัยอยุธยานั้น ไม่มีทหารเกณฑ์หรือทหารประจำการในกองทัพเหมือนปัจจุบัน จะมีก็แต่กองทหารรักษาพระองค์เท่านั้น 
  • นอกจากนั้น เป็นเพราะสมัยแรกตั้งกรุงศรีอยุธยา ต้องใช้ชายฉกรรจ์จำนวนมากในการปกป้องข้าศึก ศัตรู ความจำเป็นของสังคมจึงบังคับให้ราษฎรต้องมีนาย เพราะนายจะเป็นผู้เกณฑ์กำลังไปให้เมืองหลวงป้องกันภัยจากข้าศึกศัตรู และนายซึ่งต่อมากลายเป็น "เจ้าขุนมูลนาย" ต้องมีความรับผิดชอบต่อลูกหมู่ของตน ถ้านายสมรู้ร่วมคิดกับลูกหมู่ทำความผิด ก็ถูกปรับไหมตามยศสูงต่ำ และหากลูกหมู่ของตนถูกกล่าวหาว่าเป็นโจรปล้นทรัพย์ มูลนายก็ต้องส่งตัวลูกหมู่ให้แก่ตระลากร
  • สังคมอยุธยาจึงเป็นสังคมที่ต้องมีความรับผิดชอบมากอยู่ มีกฎเกณฑ์ต่างๆ มากมาย เพราะลักษณะและองค์ประกอบของสังคมซับซ้อนกว่าสังคมสุโขทัย

ระบบราชการสมัยกรุงศรีอยุธยา

  • ลักษณะสังคมไทยที่น่าสนใจอยู่อีกประการหนึ่งคือ ระบบราชการ ซึ่งเป็นเครื่องผูกมัดราษฎรให้มีภาระต่อแผ่นดิน ชีวิตคนไทยได้ผูกพันอยู่กับราชการมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ข้าราชการในสมัยอยุธยา เรียกว่า ขุนนาง มียศหรือบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาหรือออกญาเป็นชั้นสูงสุด และลดลงไปตามลำดับคือ เจ้าหมื่น พระ จมื่น หลวง ขุน จ่า หมื่น และพัน ส่วนเจ้าพระยา และสมเด็จพระยานั้น เกิดในตอนปลายๆ สมัยอยุธยา ส่วนยศ เจ้าหมื่น จมื่น และจ่านั้น เป็นยศที่ใช้กันอยู่ในกรมหาดเล็กเท่านั้น 
  • ส่วนตำแหน่งข้าราชการสมัยอยุธยาก็มี อัครมหาเสนาบดี เสนาบดี จางวาง เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุหบัญชี เป็นต้น ตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี และเสนาบดีนั้นในระยะแรกๆ มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ต่อมาในระยะหลังๆ ก็เป็นเจ้าพระยาไปหมด ส่วนตำแหน่งอื่นๆ ตั้งแต่ จางวาง เจ้ากรม ปลัดกรมลงมาจนถึงสมุบัญชีนั้น มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาบ้าง พระบ้าง จนถึงหลวง และขุนตามความสำคัญของตำแหน่งนั้นๆ ข้าราชการในสมัยอยุธยา ไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนหรือเงินปี ได้รับพระราชทานเพียงที่อยู่อาศัยและเครื่องอุปโภคบริโภคบางอย่าง เช่น หีบเงินใช้ใส่พลู ศาตราวุธ เรือยาว สัตว์ พาหนะ เลกสมกำลังและเลกทาสไว้ใช้สอย ที่ดินสำหรับทำสวนทำไร่ แต่เมื่อออกจากราชการแล้วก็ต้องคืนเป็นของหลวงหมดสิ้น


ไพร่สมัยอยุธยา


  • ระบบราชการของอยุธยานั้น ได้นำคนลงเป็นไพร่ สังคมอยุธยาจึงมีไพร่มีนาย ตามจดหมายเหตุลาลูแบร์กล่าวไว้ว่า "ประชาชนชาวสยามรวมกันเป็นกองทหารรักษาดินแดน" ซึ่งทุกคนต้องขึ้นทะเบียนหางว่าวกรมสุรัสวดีเข้าไว้ทั้งหมด ทุกคนเป็นพลรบต้องเกณฑ์เข้าเดือนรับราชการในพระองค์ปีละ 6 เดือน พลเมืองทั้งสิ้นต้องขึ้นทะเบียนเป็นหลักฐานไว้โดยแบ่งออกเป็นฝ่ายขวาฝ่ายซ้าย เพื่อทุกคนรู้ว่าตนต้องขึ้นสังกัดหน้าที่ฝ่ายใด นอกจากนั้น ยังแบ่งส่วนราชการออกเป็นกรมอีก แต่ละกรมมีหัวหน้าคนหนึ่งเรียกว่า นาย จนกระทั่งนายนี้เป็นคำแสดงความเคารพยกย่องที่ใช้กันทั่วไปแม้ระเบียบการปกครองสมัยอยุธยาจะแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน แต่ก็ปรากฏว่าใช้ได้แค่ยามปรกติเท่านั้น พอเกิดสงครามขึ้น เจ้านายทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนก็ต้องเข้าประจำกองตามทำเนียบตน ทั้งนี้เพราะกำลังพลมีน้อย ไม่อาจแยกหน้าป้องกันประเทศไว้กับทหารฝ่ายเดียวได้ จำเป็นต้องใช้หลักการรวม จึงทำให้ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร
  • สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเรียกว่า ไพร่ ไพร่เป็นคำที่กินความกว้างขวาง เพราะผูกพันอยู่กับราชการมากกว่าทหารปัจจุบัน ในสมัยอยุธยา ไพร่คือ ประชาชนที่สังกัดมูลนายต่างๆ มีหน้าที่และความรับผิดชอบแยกออกได้ดังนี้

  • 1. ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่สังกัดวังหลวงหรือพระเจ้าแผ่นดิน ไพร่หลวงจะต้องถูกเกณฑ์เข้ารับราชการปีละ 6 เดือน คือเข้าเดือนหนึ่งออกเดือนหนึ่งสลับกันไป ถ้าไม่อยากถูกเกณฑ์เข้ารับราชการก็จะต้องเสียเงินแทน ซึ่งอาจจะเป็นเดือนละ 4-6 บาท ไพร่หลวงจะต้องสังกัดอยู่ในกรมพระสัสดีซ้าย ขวานอก ใน ไพร่หลวงที่เป็นชายเมื่อเกิดศึกสงครามก็จะต้องออกรบได้
  • 2. ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่สังกัดบรรดาเจ้านายหรือขุนนางใหญ่น้อยทั้งหลายในยามปรกติก็ถูกเกณฑ์แรงงานหรือรับราชการถ้าเกิดศึกสงครามผู้เป็นชายก็จะต้องออกรบ มีบางครั้งพวกไพร่หลวงหนีไปสมัครเป็นไพร่สมอยู่กับเจ้านาย กฎหมายอยุธยามีบทลงโทษถึงจำคุกและถูกเฆี่ยนถ้าหากจับได้นอกจากนั้น กฎหมายอยุธยายังได้กำหนดอีกว่า ถ้าพ่อกับแม่สังกัดแตกต่างกันเช่นคนหนึ่งเป็นไพร่หลวง อีกคนหนึ่งเป็นไพร่สม ลูกที่เกิดอาจจะต้องแยกสังกัดตามที่กฎหมายกำหนด
  • 3. ไพร่ราบ หมายถึง ไพร่ที่สังกัดมูลนาย มีอายุระหว่าง 13-17 ปี มีศักดินาระหว่าง 15
  • 4. ไพร่ส่วย คือ พวกที่ยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์เข้ามารับราชการแต่จะต้องส่งสิ่งของมาให้หลวงแทน เช่น อาจจะเป็นดีบุก ฝาง หญ้าช้าง ถ้าไม่นำสิ่งของเหล่านี้มาจะต้องจ่ายเงินแทน
  • 5. เลกหรือเลข เป็นคำรวมที่ใช้เรียกไพร่หัวเมืองทั้งหลายตลอดจนข้าทาส พวกเลกหัวเมือง ยังขึ้นกับกระทรวงใหญ่ 2 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย และกลาโหม มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา



ทาสสมัยอยุธยา


  • เป็นที่ยอมรับกันว่า สังคมอยุธยามีทาสไว้ใช้ ทาสเป็นชนชั้นอีกชนชั้นหนึ่งของสังคมสมัยอยุธยาและกฎหมายอยุธยาก็ได้ยอมรับการมีทาส มีบทบัญญัติเกี่ยวกับทาสไว้มากมายและได้แบ่งประเภทของทาสไว้ 7 พวกด้วยกันคือ
1. ทาสสินไถ่

2. ทาสเกิดในเรือนเบี้ย

3. ทาสได้มาแต่บิดามารดา

4. ทาสท่านให้

5. ทาสอันได้ช่วยเหลือในยามโทษทัณฑ์

6. ทาสอันได้เลี้ยงมาเมื่อเกิดทุพภิกขภัย

7. ทาสอันได้ด้วยเชลย


  • จะเห็นว่า ทาสในสมัยอยุธยานั้น เป็นทาสที่ถูกกฎหมายคุ้มครอง เป็นทาสที่มีสภาพเป็นมนุษย์และเป็นพลเมืองของชาติอย่างสมบูรณ์ ฉะนั้นคนไทยในสมัยอยุธยาจึงสมัครใจจะเป็นทาสมากกว่าจะเป็นขอทาน เพราะอย่างน้อยก็มีข้าวกินมีที่อยู่อาศัยโดยไม่เดือดร้อน

ชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีบางอย่างสมัยอยุธยา


  • การก่อรูปสังคมนั้น โดยทั่วไปย่อมเป็นหมู่บ้านตามที่อุดมสมบูรณ์พอจะเพาะปลูกเพื่อยังชีพได้ เช่น บริเวณลุ่มแม่น้ำ ลักษณะการก่อรูปของสังคมไทยโบราณก็เป็นไปลักษณะนี้


1. บ้านเรือนสมัยอยุธยา สร้างเป็นหลังขนาดย่อมๆ

2. ผู้หญิงต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวมากกว่าผู้ชาย

3. ชอบเล่นการพนันกันอย่างกว้างขวาง

4. ชอบสูบยาเส้น และสูบกันอย่างกว้างขวาง

5. นิยมให้ลูกชายได้ศึกษาเล่าเรียนโดยใช้วัดเป็นสถานศึกษา