วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 20 สังคมวัฒนธรรมไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

20-สังคมวัฒนธรรมไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สังคมวัฒนธรรมไทย  สภาพสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น                   สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรี ลักษณะโครงสร้างของสังคมไทยสมัยนี้  มีการแบ่งชนชั้น ถึงแม้จะไม่มีการแบ่งวรรณะอย่างอินเดีย แต่ฐานะความเป็นอยู่ของผู้คนก็แตกต่างกัน องค์ประกอบของสังคมไทยแบ่งเป็น 4 ชนชั้น      1. เจ้านาย  ได้แก่ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นทั้งเทวราชาและธรรมราชา                2. ขุนนางและข้าราชการ                     3. ไพร่  เป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก แบ่งเป็น ไพร่หลวง และไพร่สม            4. ทาส   ชนชั้นต่ำสุดในสังคมไทย ไม่มีอิสระในการดำเนินชีวิต ชีวิตขึ้นอยู่กับนายทาส แบ่งเป็น ทาสเชลย  ทาสในเรือนเบี้ย  ทาสสินไถ่  ทาสได้มาแต่บิดามารดา  ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย  ทาสที่ช่วยมาจากทัณฑ์โทษ และทาสท่านให้  ทาสที่ทำความดีความชอบต่อบ้านเมืองสามารถเลื่อนฐานะตนเองสูงขึ้นเป็นขุนนางได้ ส่วนขุนนางที่ทำผิดก็สามารถลดฐานะลงเป็นทาสได้เช่นกัน ที่มา : ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐและคณะ,หนังสือเรียน ส306 ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์แบบ,           (กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช,2542)           คณะทำงานเฉพาะกิจการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,            ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ,   (กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์,2525)                                                   สุคน  สินธพานนท์ และพรรษมน กิตติสารศักดิ์. สังคมศึกษา ส306. 2542. หน้า 72.           http://www.qoolive.com/show_blog/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น